จากองค์กรการเงินชุมชนสู่สถาบันการเงินประชาชน: กรณีศึกษา สถาบันการเงินประชาชน ตำบลน้ำขาว อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และสถาบันการเงินประชาชน ตำบลจำปาหล่อ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง การบริหารการเปลี่ยนแปลง, ชุมชนเข้มแข็ง

Main Article Content

saranrat rattanapan

บทคัดย่อ

         การวิจัยเรื่อง จากองค์กรการเงินชุมชนสู่สถาบันการเงินประชาชน: กรณีศึกษา สถาบันการเงินประชาชน ตำบลน้ำขาว อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และสถาบันการเงินประชาชนตำบลจำปาหล่อ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาองค์กรการเงินชุมชนที่สามารถจดทะเบียนยกระดับเป็นสถาบันการเงินประชาชนได้สำเร็จ และมีวิธีการเตรียมการและดำเนินงานอย่างไร จึงสามารถจดทะเบียนเป็นสถาบันการเงินประชาชนได้สำเร็จ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย  เชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลหลักที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ตัวแทนจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ธนาคารออมสิน สถาบันการเงินประชาชน ตำบลจำปาหล่อ และสถาบันการเงินประชาชน ตำบลน้ำขาว ครู  ทหาร ตำรวจ พระ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พ่อค้า แม่ค้า และประชาชนโดยรอบในแต่ละพื้นที่ จำนวน 40 คน


               ผลการศึกษาพบว่า ตั้งแต่มีนโยบายยกระดับองค์กรการเงินชุมชนเป็นสถาบันการเงินประชาชนตามพระราชบัญญัติสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. 2562 เมื่อนำแนวคิดทฤษฎีเรื่องการบริหาร                     การเปลี่ยนแปลง ของศุภชัย ยาวะประภาษ ของปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา และ Johns and Saks แนวคิดเกี่ยวกับผู้นำกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง ของ Jame M. Burns แนวคิดชุมชนเข้มแข็ง ของโกวิทย์ พวงงาม และแนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน ของไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม (2551) มาวิเคราะห์พบว่า องค์กรการเงินชุมชนที่สามารถจดทะเบียนเป็นสถาบันการเงินประชาชนได้สำเร็จ มาจากความสามารถของผู้บริหารระดับกลาง คือคณะกรรมการองค์กรการเงินชุมชน ที่สามารถดึงความร่วมมือของผู้บริหารระดับสูง คือ ประธานกรรมการองค์กรการเงินชุมชนและลดการต่อต้านจากบุคลากรระดับปฏิบัติการคือสมาชิกองค์กรการเงินชุมชน โดยเฉพาะกรรมการองค์กรการเงินชุมชน บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติงานด้านเอกสารขององค์กรการเงินชุมชนเป็นหลัก เป็นผู้ซึ่งอยู่ในกลุ่มคณะกรรมการองค์กรการเงินชุมชนอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับว่าในกลุ่มคณะกรรมการทั้งหมดใครจะเป็นคนทำเอกสาร และยินดีทำด้วยความเต็มใจ ไม่ได้มาจากการบังคับจากกรรมการในกลุ่มแต่อย่างใด อีกทั้งวิธีการเตรียมการและดำเนินงานจดทะเบียนยกระดับเป็นสถาบันการเงินประชาชนได้สำเร็จ องค์กรการเงินชุมชนต้องมีพื้นฐานที่ดีมาตั้งแต่การเป็นองค์กรการเงินชุมชน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเป็นสถาบันการเงินประชาชน การเปลี่ยนแปลงก็จะใกล้เคียงสภาพปกติที่เป็นอยู่ ทุกคนในชุมชนยินดีมีส่วนร่วมไม่รู้สึกต่อต้านว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีความพร้อมเพรียงในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การเข้าร่วมประชุมเพื่อขอมติเห็นชอบที่จะจดทะเบียนยกระดับองค์กรการเงินชุมชนเป็นสถาบันการเงินประชาชน การเตรียมเอกสารประกอบการยื่นขอจดทะเบียน การลงลายมือชื่อ การประสานงาน ความรวดเร็วในการให้ความร่วมมือหลังได้รับแจ้งแก้ไขจากธนาคารผู้ประสานงาน เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2545).บทเรียนชุมชนเข้มแข็ง แผนพัฒนาจังหวัดฉบับเจ้าเมือง. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา. (2552). การพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ป่าสาละ. (2557). ธนาคารเพื่อความยั่งยืนในประเทศไทย. บทความป่าสาละ ปลูกธุรกิจที่ยั่งยืน.

พระราชบัญญัติสถาบันการเงินประชาชน. (2562). เอกสารวิธีการจดทะเบียนเป็นสถาบันการเงิน ประชาชน. 26 มิถุนายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.gsb.or.th/media

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. (2551). การบริหารสังคมศาสตร์แห่งศตวรรษเพื่อสังคมไทยและสังคมโลก. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.

มูฮัมหมัด ยูนุส. (2553). นายธนาคารเพื่อคนจน. แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2544). การปรับปรุงประสิทธิภาพของหน่วยงานของรัฐที่ประสบความสำเร็จในการบริการประชาชน: การบริหารการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: จุดทอง.

สฤณี อาชวานันทกุล และ ปัทมาวดี โพชนุกูล. (2556). คู่มือองค์กรการเงินชุมชน: แนวทางการบริหารจัดการ องค์กรการเงินชุมชน. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

อนุธิดา หัตถาพันธ์. (2563). ปัญหาวิธีการจัดตั้งสถาบันการเงินประชาชนตามพระราชบัญญัติสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Bill. (2011). “Micro Finance Institutions (Development and Regulations)”. Royal Bank of India.

John, G., & Saks, A. M. (2001). Organizational behavior: Understanding and managing life at work (5th edition). Toronto: Addison Wesley Longman.

Burns, J. M. (2003). Transforming Leadership: A New Pursuit of Happiness. New York: Grove Press.

Johannsen, M. (2014). “125 Transformational Leaders: Lists of Famous Ones From Many Countries”.Retrieved 26 January, 2024, from https://www.legacee.com/transformational_leadership/list-of-leaders/