การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรี 2) วิเคราะห์ความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรีและ 3) พัฒนากิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรี ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และประเด็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพปัญหาและอุปสรรคการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรี พบว่า 1) ด้านอาชีพ กลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีรายได้ที่ไม่แน่นอน เงินหมุนเวียนไม่คล่อง 2) ด้านสุขภาพ กลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงอยู่เป็นจำนวนมาก และ 3) ด้านการเงิน กลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังไม่มีการจัดระเบียบชีวิตด้านการเงิน
- วิเคราะห์ความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรี พบว่า 1) ด้านอาชีพ ต้องการการหารายได้เสริมจากอาชีพที่ว่างจากงานหลัก 2) ด้านสุขภาพต้องการการส่งเสริมสุขภาพโดยการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน 3) ด้านการเงินต้องการเรียนรู้วิธีจัดระเบียบชีวิตด้านการเงิน
- การพัฒนากิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรี พบว่า 1) ด้านอาชีพ กลุ่มผู้สูงอายุได้ดำเนินการกิจกรรมกลุ่มจักสานตะกร้าพลาสติก 2) ด้านสุขภาพได้ดำเนินกิจกรรมกลุ่มปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ 3) ด้านการเงิน กลุ่มผู้สูงอายุได้ดำเนินกิจกรรมการบันทึกบัญชี กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์
Article Details
References
นิธิวรรธน์ คูเจริญไพศาล. (2564). การจัดสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลนครสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วีณา พึงวิวัฒน์นิกุล. (2564). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.
ศิริมาศ โกศัลย์พิพัฒน์. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชนบทภาคเหนือโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐาน. รายงานวิจัย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2565). การเข้าถึงระบบบริการทางสังคมของประชากรในครัวเรือนก่อนวัยสูงอายุและผู้สูงอายุที่มีรูปแบบการอยู่อาศัยต่างกันเพื่อนำไปสู่แนวทางการสนับสนุน การบริการที่เหมาะสม. วันที่ค้นข้อมูล 18 พฤศจิกายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://ipsr.mahidol.ac.th
สนธยา สวัสดิ์. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนบ้านร้องเม็ง ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สมคิด แนวกระโทก. (2560). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย, 11(1), 158-170.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุจังหวัดกาฬสินธุ์. วันที่ค้นข้อมูล 18 พฤศจิกายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://kalasin.nso.go.th
อรนิษฐ์ แสงทองสุข. (2563). การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
อ๊อต โนนกระยอม และพรพิทักษ์ เห็มบาสัตย์. (2565). การพัฒนาศักยภาพผู้สูงวัยผ่านหลักสูตรการเรียนรู้การสร้างคุณค่าเพื่อสร้างสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง มหาวิทยาลัยบูรพา, 11(2), 72-86.
Department of Local Administration. (n.d.). Standards of Community Learning Center. Department of Local Administration. Bangkok: Ministry of Interior.
Khamwong, W. et al. (2011). Factors Relating to Quality of Life of Elderly. Journal of Health Science Research, 5(2), 32-40.
Zahava, G., & Bowling, A. (2004). Quality of life from the perspectives of older people. Ageing & Society, 24(5), 675-691.