การศึกษาความคิดเห็นประชาชนที่มีต่อประสิทธิภาพของการประนอม ข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

รัชนี แตงอ่อน
สรินยา นะวงค์

บทคัดย่อ

งานนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิภาพของการประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิภาพของการประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี และ(3)เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี สุ่มตัวอย่างโดยการใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน  กำหนดให้สัดส่วนของลักษณะที่สนใจในประชากร เท่ากับ 0.5 ระดับความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 5% และระดับความเชื่อมั่น 95%  ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 181 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การหาค่า t – test และค่า One-way ANOVA ในการทดสอบ


 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 31 – 40 ปี ส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจส่วนตัว ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง มากกว่า 15,000-20,000 บาท และ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีสถานะในคดีเป็นโจทก์/ผู้ร้อง 2. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีประสิทธิภาพการประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี  พบว่าในภาพรวมมีประสิทธิภาพการประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี  อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าประสิทธิภาพด้านการรักษาชื่อเสียงและความลับของคู่พิพาท มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  รองลงมาคือ ด้านการสร้างความพึงพอใจให้แก่คู่พิพาท ด้านลดปริมาณคดีของศาล ด้านการรักษาสัมพันธภาพระหว่างคู่พิพาท ด้านความรวดเร็ว และด้านความสะดวก ตามลำดับ เนื่องด้วยผู้มารับบริการการประนอมข้อพิพาทเห็นถึงข้อดี และประโยชน์ได้อย่างชัดเจน 3. เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิภาพของการประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี พบว่าในส่วนปัจจัยส่วนบุคคลนั้น อายุที่แตกต่างกัน อาชีพที่แตกต่างกัน รายได้ที่แตกต่างกัน และสถานะในคดีที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพของการประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4.ความคิดเห็นต่อปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี พบว่าจากการที่ผู้ตอบแบบสอบถามตอบแบบสอบถามนั้นสามารถแยกเป็นประเด็นต่างๆได้ดังต่อไปนี้  (1) ปัจจัยในด้านกฎหมาย หรือข้อบังคับที่ก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคต่อกระบวนการไกล่เกลี่ยในขั้นตอนของการปฏิบัติงาน (2) ปัจจัยในด้านฝ่ายตัวความ ปัจจัยเกี่ยวกับโจทก์/จำเลย ที่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุข้อตกลงในการเจรจาไกล่เกลี่ยประนีประนอมข้อพิพาท (3) ปัจจัยในด้านกระบวนการไกล่เกลี่ย การติดต่อสื่อสารรวมถึงการนัดหมายและการประสานงานต่างๆ และ (4) ปัจจัยในด้านสถานที่ สิ่งแวดล้อมในการไกล่เกลี่ย 5. แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี เรื่องกฎหมายควรแก้ไขให้มีความชัดเจนมากกว่านี้ เพราะถ้ากฎหมายชัดเจนจะทำให้คู่ความกล้าที่จะเข้าร่วมในการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท ด้านตัวคู่ความ ต้องมีการเผยแพร่ความรู้เพื่อให้คู่ความที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจและรู้ถึงขั้นตอนของการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทอย่างแท้จริง ด้านการนัดหมายอาจมีการนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้น และด้านสถานที่เห็นควรเพิ่มเก้าอี้ หรือพื้นที่ในการนั่งรอให้มากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการบริหารจัดการสถานที่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษม คมสัตย์ธรรม. (2552). กฎหมายเกี่ยวกับการประนอมข้อพิพาท. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

โชติช่วง ทัพวงศ์. (2555). การจัดการความขัดแย้งกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาล. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

ดวงเพ็ญ ทุคหิต. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานวิชาการตามความ คิดเห็นของครูโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานีเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

เนติภูมิ มายสกุล. (2560). เทคนิคการไกล่เกลี่ยสำหรับผู้ประนีประนอม:ในเทคนิคจิตวิทยาสำหรับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

พระอดิศักดิ์ วชิรปฺโญ และอดุลย์ ขันทอง. (2558). คุณลักษณะของผู้ประนีประนอมเชิงพุทธบูรณาการ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 3(1).

ลาวัลย์ นาคดิลก และสัญญา เคณาภูมิ. (2560). แนวคิดการไกล่เกลี่ยเพื่อยุติข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพิจารณาคดีของศาล. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(2).

ภัทรพร สันตธาดาพร และประณต นันทิยะกุล. (2559). การบริหารจัดการการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของสำนักงานเยาวชนและครอบครัว ภาค 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 3, 323-332.

ศรีอัมพร ปานพรหม. (2551). การศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ครูผู้ปกครองที่มีต่อการเรียนกวดวิชาโรงเรียนโฟกัส เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริชัย กุมารจันทร์, เอกราช สุวรรณรัตน์ และ กรกฎ ทองขะโชค. (2561). กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยและคุ้มครองสิทธิในศาล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 9(1), 317-328.

ศิริเพ็ญ จันทร์นิยม. (2562). แนวทางใหม่ของการจัดการความขัดแย้งในการระงับข้อพิพาทสัญญาทางปกครอง ศึกษาเฉพาะกรณี : การกำหนดให้นำวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกโดยคนกลางไกล่เกลี่ยมาใช้ในสัญญาทางปกครอง. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 11(1), 289-311.

สรวิศ ลิมปรังษี. (2555). การจัดการความขัดแย้งกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท: ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ. (2560). คู่มือการระงับข้อพิพาททางเลือกสำหรับประชาชน. วันที่ค้นข้อมูล 24 มีนาคม 2565, เข้าถึงได้จาก

https://oja.coj.go.th/th/file/get/file/201809250b5239fc1b92834ee52f73355f00e533202655.pdf

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3),607-610.

Millet, J. D. (1954). Management in Public Science. New York: McGraw - Hill.

Simon, H. A. (1960). Administrative Behavior, A Study of Decision-Making Processes in Administrative Organization. New York: The Macmillan Co.