การพัฒนาเกณฑ์การประเมินสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรม

Main Article Content

สุปราณี เวชประสิทธิ์
พูลพงศ์ สุขสว่าง
ปริญญา เรืองทิพย์

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์การประเมินสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรม คณะผู้วิจัยได้กำหนดวิธีดำเนินการวิจัยไว้ 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสังเคราะห์ประเด็นแนวโน้มที่เป็นไปได้ของเกณฑ์การประเมิน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การพิจารณา 2) การพัฒนากรอบการประเมินสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรมด้วยเทคนิคเดลฟายอิเล็กทรอนิกส์  และ 3) การวัดฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญโดยใช้ทฤษฎีรัฟเซตและจัดลำดับและน้ำหนักความสำคัญของด้าน และตัวบ่งชี้ ด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์


               ผลการวิจัยพบว่า เกณฑ์การประเมินสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรม ประกอบด้วย 3 ด้าน 8 ตัวบ่งชี้ 80 เกณฑ์การพิจารณา ได้แก่ 1) ด้านเจตคติข้ามวัฒนธรรม 2) ตัวบ่งชี้ 20 เกณฑ์การพิจารณา) 2) ด้านทักษะสมรรถนะข้ามวัฒนธรรม (4 ตัวบ่งชี้ 40 เกณฑ์การพิจารณา) 3) ด้านความรู้ความเข้าใจทางวัฒนธรรม (2 ตัวบ่งชี้ 20 เกณฑ์การพิจารณา) สมรรถนะข้ามวัฒนธรรมแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับที่ 1 (ควรปรับปรุง) ถึงระดับที่ 5 (สูงมาก) เมื่อวัดฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คนโดยใช้ทฤษฎีรัฟเซต พบว่า ค่าคุณภาพของขอบเขตล่าง (Lower Approximation)  (QL ≥ 0.75) ของด้าน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การพิจารณาทั้งหมด อยู่ระหว่าง 0.79 – 1.00  และเมื่อจัดลำดับของด้านและตัวบ่งชี้ของเกณฑ์การประเมินสมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรม ด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ พบว่า ด้านเจตคติข้ามวัฒนธรรม มีน้ำหนักมากที่สุดเท่ากับ 0.6571 (66%) รองลงมาคือ ด้านทักษะสมรรถนะข้ามวัฒนธรรม มีน้ำหนักเท่ากับ 0.2746 (27%) และด้านความรู้และความเข้าใจทางวัฒนธรรม มีลำดับความสำคัญน้อยที่สุด คือ มีน้ำหนักเท่ากับ 0.0683 (7%)


               สรุปได้ว่า เกณฑ์การประเมินสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรมที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ประเมินสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินดารัตน์ โพธิ์นอก. (2561, 3 พฤษภาคม). สมรรถนะการอยู่ในสังคมโลก. เดลินิวส์. หน้า 23.

ชาลี ไตรจันทร์. (2551). การกำหนดและประเมินสมรรถนะบุคลากรภาครัฐที่เหมาะสมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. วันที่ค้นข้อมูล 10 มีนาคม 2559, เข้าถึง

ได้จากhttp://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2553/4941/2/294256.pdf

ราชบัณฑิตสถาน. (2551). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ อักษร A-L ฉบับราชบัณฑิตสถาน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

วิฑูรย์ ตันศิริคงคล. (2557). AHP การตัดสินใจขั้นสูงเพื่อความก้าวหน้าขององค์กรและความอยู่ดีมีสุขของมหาชน. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.

ศราวุธ ยังเจริญยืนยง, เสรี ชัดแช้ม และกนก พานทอง. (2559). การพัฒนาเกณฑ์การประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรปฏิบัติการด้านอุตสาหกรรมการผลิตชิ้น

ส่วนยานยนต์. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 14(2), 43-58.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2554). ทฤษฎีการประเมิน (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์, ดาริน โต๊ะกานิ และมุสลินท์ โต๊ะกานิ. (2552). สมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาลในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. Princess of

Narathiwas University Journal, 1(ฉบับปฐมฤกษ์). 1-11.

สถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ. (2553). เอกสารประกอบรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การปรับปรุงระบบจำแนกตำแหน่ง

และค่าตอบแทนของข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ระยะที่ 2). กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2556). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ปี 2557-2558. กรุงเทพฯ: แกรนด์อาร์ต ครีเอทีฟ.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2553). วิธีวิทยาการประเมิน: ศาสตร์แห่งคุณค่า (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สีมา สีมานันท์. (2553, 23 พฤศจิกายน). ของฝากอธิบดี เรื่อง การพัฒนาสมรรถนะองค์การ. มติชน, หน้า 6.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2550). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วย Competency Based HRM (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

สุมามาลย์ ปานคำ และเสรี ชัดแช้ม. (2559). การพัฒนาวิธีการวัดฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญโดยใช้ทฤษฎีรัฟเซตในเทคนิคเดลฟายแบบอิเล็กทรอนิกส์.

วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 14(2), 87-101.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2552). คู่มือสมรรถนะหลัก : คำอธิบาย และตัวอย่างพฤติกรรมบ่งชี้. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2552). มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1. ม.ป.ท.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2552). มาตรฐานและแนวทางการกำหนดความรู้ความสามารถทักษะและสมรรถนะที่จำเป็น สำหรับตำแหน่ง

ข้าราชการพลเรือนสามัญ. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน : คู่มือสมรรถนะหลัก. กรุงเทพฯ: บริษัท ประชุมช่าง จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. เอกสารประกอบการ

ระดมความคิดเห็นทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12. ม.ป.ท.

Behymer, K. J., Mateo, J. C., & McCloskey, M. J. (2015). Making the case for an ecological approach to cross-cultural competence training

and assessment. Procedia Manufacturing, 3, 3941-3947.

Cole, D. Z., Donohoe, H. M., & Stellefson, M. L. (2013). Internet-based Delphi research: case base discussion. Environ Manage, 51(3),

-523.

Delbecq, A. L., Van de Ven, D. H., & Gustafson, D.H. (1975). Group Techniques for Program Planning: A Guide to Nominal Group and

Delphi. Illinois: Foresman and Company.

Diamond, I. R., Grant, R. C., Feldman, B. M., Pencharz, P. B., Ling, S. C., Moore, A. M., & Wales, P. W. (2014). Defining consensus: a

systematic review recommends methodologic criteria for reporting of Delphi studies. Journal of clinical epidemiology, 67(4),

-409.

Giannarou, L., & Zervas, E. (2014). Using Delphi technique to build consensus in practice. Int. Journal of Business Science and Applied

Management, 9(2), 65-82.

Glickman, L. B., Olsen, J., & Rowthorn, V. (2015). Measuring the Cross-Cultural Adaptability of a Graduate Student Team from a Global

Immersion Experience. Journal of cultural diversity, 22(4), 148-154.

Habibi, A., Sarafrazi, A., & Lzadyar, S. (2014). Delphi technique theoretical framework in qualitative research. The International Journal of

Engineering and Science (IJES), 3(4), 2319-1805.

Hsu, C. C., & Sandford, B. A. (2007). The Delphi technique: making sense of consensus. Practical assessment, research & evaluation,

(10), 1-8.

Leung, P., & Cheung, M. (2013). Factor analyzing the “ASK” cultural competency self-assessment scale for child protective services.

Children and Youth Services Review, 35(12), 1993-2002.

Liu, T. W., & Chin, K. S. (2010). Development of audit system for intellectual property management excellence. Expert Systems with

Applications, 37(6), 4504-4518.

Macmillan, T. T. (1971). The Delphi Technique. In paper presented at the annual meeting of the California Junior Colleges associations

committee on research and development, May 3-5. CA: Monterey.

Mamaqi, X., Miguel, J., & Olave, P. (2010). The e-DELPHI Method to Test the Importance Competence and Skills: Case of the Lifelong

Learning Spanish Trainers. International Scholarly and Scientific Research & Innovation, 4(6), 1317-1325.

Ndiwane, A., Koul, O., & Theroux, R. (2014). Implementing standardized patients to teach cultural competency to graduate nursing

students. Clinical Simulation in Nursing, 10(2), e87-e94.

Panadero, E., & Romeo, M. (2014). To rubric or not to rubric? The effects of self-assessment on self-regulation, performance and self-

efficacy. Assessment in Education: Principles, Policy & Practice, 21(2), 133-148.

Rothwell, W. J., & Graber, J. M. (2010). Competency-Based Training Basics. The United State of America: Versa Press Inc.

Saaty, T. L., & Vargas, L. G. (2012). Models, Methods, Concepts & Applications of the Analytic Hierarchy Process ( 2nd ed.). New York:

Springer Science+Business Media.

Skulmoski, G. & Hartman, F. (2002). The Delphi method: Researching what does not exist (yet). In Proceedings of the International

Research Network on Organization by Projects, IRNOP V Conference, Renesse, The Netherlands.

Trilling, B., & Fadel, C. (2009). 21st Century Skills: Learning for Life in Our Times. Hoboken, NJ: Jossey-Bass (publisher).

Trumble, B. (2000). Reader’s Digest Great Dictionary of the English Language. London: Reader’s Digest.

Unesco, Leeds-Hurwitz, W., & Stenou, K. (2013). Intercultural Competences: Conceptual and Operational Framework. Unesco.

U.S. Office of Personel Management. (2011). Performance management, Retrieved March 12, 2016, from http://206.16.224.206/perform

/oveview.asp Webster’s Online Dictionary. (2010). Indicator. Retrieved June 2, 2016, from http://www.webters-online-

dictionary.org/