การวางแผนเพื่อปรับเปลี่ยนไปสู่อง การวางแผนเพื่อปรับเปลี่ยนไปสู่องค์กรดิจิทัลกับความท้าทายขององค์กรในยุคดิจิทัล

Main Article Content

เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์

บทคัดย่อ

              แผนเพื่อปรับเปลี่ยนไปสู่องค์กรดิจิทัล ถือได้ว่าเป็นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวที่เน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการสร้างสรรค์คุณค่าใหม่ให้เกิดขึ้นแก่องค์กร ลูกค้า ผลิตภัณฑ์/บริการ ระบบและกระบวนการดำเนินงาน ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรให้สูงขึ้นในการวางแผนเพื่อปรับเปลี่ยนไปสู่องค์กรดิจิทัลสามารถดำเนินการได้ 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ที่สำคัญ คือ                 1) ขั้นการประเมินสภาพแวดล้อมปัจจุบันขององค์กรอย่างรอบด้าน 2) ขั้นการกำหนดภาพที่เป็นวิสัยทัศน์ทางดิจิทัลของธุรกิจหรือองค์กรในอนาคตให้เกิดความชัดเจน 3) ขั้นการระบุช่องว่างระหว่างสภาพแวดล้อมปัจจุบันกับวิสัยทัศน์ที่ได้กำหนดไว้ในอนาคต และ 4) ขั้นการสร้างแผนที่ของการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่อนาคต ปัจจัยสำคัญต่อการวางแผนเพื่อปรับเปลี่ยนไปสู่องค์กรดิจิทัล คือ การที่องค์กรจะต้องจัดทำแผนระยะยาวเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การคิดรูปแบบธุรกิจใหม่ในอนาคต การออกแบบโครงสร้างขององค์กรดิจิทัล ทักษะทางดิจิทัลของบุคลากรการปรับกระบวนการและการปฏิบัติงานเป็นแบบดิจิทัล ตลอดจนความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล ดังนั้น การวางแผนการปรับเปลี่ยนเป็นองค์กรดิจิทัล จึงต้องวางแผนออกแบบเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายที่เกิดขึ้นทั้ง 6 มิติ คือ มิติของการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม มิติการมองรูปแบบธุรกิจใหม่ที่จะเปลี่ยนแปลงในอนาคต มิติของการออกแบบองค์กรดิจิทัล  มิติด้านทักษะของบุคลากรทางดิจิทัล มิติด้านกระบวนการดิจิทัล และมิติด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ

และสังคม.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2562). ทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ เพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล. กรุงเทพฯ:

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

Berman, S. J. (2012), Digital transformation: opportunities to create new business models. Strategy & Leadership, 40(2), 16-24.

Doerr, J. (2018). Measure What Matters: How Google, Bono, and the Gates Foundation Rock the World with OKRs. New York: Portfolio.

Greenway, A. et al. (2021). Digital Transformation at Scale: Why the Strategy Is Delivery. London: Publishing Partnership.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1992). The Balanced Scorecard: measures that drive performance.Harvard Business Review, 70(1), 71–80.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1993). Putting the Balanced Scorecard to Work. Harvard Business Review, 71(5), 2–16.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1996). Using the Balanced Scorecard as a strategic management system. Harvard Business Review, 74(1),

-85.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (2001). The Strategy-Focused Organization. Boston: Harvard.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (2004). Strategy maps: Converting intangible assets into tangible outcomes. Boston: Harvard Business

School Press.

Mintzberg, H. (1987). The Strategy Concept: Five Ps for Strategy. California Management Review, 30(1), 11-24.

Perkin, N., & Abraham, P. (2017). Building the Agile Business through Digital Transformation. London: Koganpage.

Porter, M. E. (2008). Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance. London: Free Press.

Sopra Steria Consulting Company Report. (2023). How to succeed and accelerate your digital transformation Project.

Steiss, A. W., (2003). Strategic Management for Public and Nonprofit Organizations. New York: Marcel Dekker, Inc.

Vaz, N. (2021). Digital Business Transformation: How Established Companies Sustain Competitive Advantage From Now to Next.

Hoboken, NJ: John Wiley & Sons: Wiley.

Zimmermann, A. et al. (2020). Architecting the Digital Transformation: Digital Business, Technology, Decision Support, Management.

Manhattan, New York: Springer International Publishing.