การพัฒนาระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลรัฐ: ศึกษากรณีการระบาดของ ไวรัสโควิด - 19 ในจังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลรัฐที่ตอบสนองต่อความมั่นคงทางสุขภาพของประชาชนในสภาวะที่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมโรค และการป้องกันโรค เครื่องมือที่ใช้วิธีวิจัยคือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐสังกัดกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และสภากาชาดไทย จำนวน 23 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อหาข้อสรุปตามวัตถุประสงค์
ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลรัฐในจังหวัดชลบุรี ได้แก่ 1) ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ควรจัดตั้งกองทุนสนับสนุนการปฏิบัติงานเชิงบูรณาการ และพัฒนาความรอบรู้ทางดิจิทัลสำหรับบุคลากรสุขภาพและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 2) ด้านการควบคุมโรค ควรพัฒนาระบบการปฏิบัติงานเชิงบูรณาการควบคุมโรค พัฒนาแนวทางการประสานความร่วมมือระหว่างทีมควบคุมโรคกับผู้ประกอบการหรือภาคธุรกิจในพื้นที่ พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการอัตรากำลังปฏิบัติงานควบคุมโรค พัฒนาโครงสร้างการปฏิบัติงานควบคุมโรคเชิงรุก สถานกักกันโรคแห่งรัฐ โรงพยาบาลสนาม และพัฒนาแนวทางการประสานงานบังคับใช้กฎหมายป้องกันโรคติดต่อ 3) ด้านการป้องกันโรค ควรพัฒนาการบริหารจัดการเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์
Article Details
References
กรมควบคุมโรค. (2563ก). สถานการณ์ทั่วโลก. วันที่ค้นข้อมูล 24 พฤษภาคม 2563, เข้าถึงได้จากhttps://ddcportal.ddc.moph.go.th/portal/apps/opsdashboard/index.html#/20f3466e075e45e5946aa87c96e8ad65
กรมควบคุมโรค. (2563ข). สถานการณ์ COVID-19 ในประเทศ. วันที่ค้นข้อมูล 7 พฤศจิกายน 2563, เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). การสาธารณสุขไทย 2559-2560 Thai Health Profile 2016-2017. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด แสงจันทร์การพิมพ์.
คณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์และกรอบการปฏิรูป. (2560). ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (2560-2579). วันที่ค้นข้อมูล 21 ธันวาคม 2563, เข้าถึงได้จาก http://www.plan.cmru.ac.th/documents/nation/01006.pdf
จริยาวัตร คมพยัคฆ์ และวนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. (2554). การพยาบาลอนามัยชุมชน แนวคิด หลักการและการปฏิบัติการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุดทอง.
ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง และคณะ. (2565). การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโควิด-19 ในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 16(2), 151-168.
ชาคริต ศึกษากิจ. (2559). การเป็นศูนย์กลางบริการสุขภาพเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทาง เศรษฐกิจของประเทศ. วารสารรัฏฐาภิรักษ์, 58(2), 39-51.
ทีนุชา ทันวงศ์, นิตยา เพ็ญศิรินภา, และพรทิพย์ กีระพงษ์ (2559) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายสุขภาพอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 9(31), 26-36.
ธานี ขามชัย. (2560). การพัฒนาระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลรัฐเพื่อความมั่นคงทางสุขภาพของประชาชน: ศึกษากรณีเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดชลบุรี. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์และความมั่นคง). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์. (2561). การพัฒนาระบบบริการด้านสุขภาพตามพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ เขตสุขภาพที่ 6. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
นารีรัตน์ ผุดผ่อง และกานต์วรินต์ ก่องกุลวัฒน์. (2559). การทบทวนระบบธรรมาภิบาลในด้านการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพเพื่อสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพของประเทศไทย.(รายงานผลการวิจัย). นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ.
พิบูล ทีปะปาล และ ธนวัฒน์ ทีปะปาล. (2559). การจัดการเชิงกลยุทธ์ Strategic Management (ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ อมรการพิมพ์.
พิทักษ์พงศ์ พายุหะ. (2561). การพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. การศึกษาส่วนบุคคลหลักสูตรการพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านนโยบายและยุทธศาสตร์สุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
เพชรสมร ไพรพะยอม, และประจักร บัวผัน. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับตำบลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(3), 11-22.
เพ็ญจันทร์ สิทธิปรีชาชาญ และปนัดดา ปริยฑฤฆ. (2557). กระบวนการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน: 14 กรณีศึกษาในชุมชนพื้นที่ภาคกลาง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 28(1), 1-15.
พอพล อุยยานนท์. (2558). การให้บริการและความต้องการบริการสาธารณสุขในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง.วารสารสุทธิปริทัศน์, 29 (91), 315-330.
มณฑกา ธีรชัยสกุล. (2558). ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดบริการเขตบริการสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกของสถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. (รายงานผลการวิจัย). สำนักงานประเมินมาตรฐานและเทคโนโลยี กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
รุสลี บาเหะ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการสร้างเสริมสุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดปัตตานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
รัชดาพร นิตย์กระโทก.(2558). การพัฒนาระบบริการสุขภาพระดับอำเภอ ตามแนวคิดการจัดการระบบบริการสุขภาพในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. (งานนิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์). คณะสาธารณสุขศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมคิด บางโม. (2546). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ:จูนพับลิชชิง.
สมศักดิ์ อรรฆศิลป์. (2561). แนวทางการจัดระบบบริการสุขภาพเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). การสาธารณสุขไทย 2554-2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดชลบุรี. (2563). รายงานสถานการณ์โควิด-19 จังหวัดชลบุรี. วันที่ค้นข้อมูล 7 พฤศจิกายน 2563, เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/ChonburiPr/
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร .(2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
เอมิกา แช่มศรีรัตน์, พูลฉัตร วิชัยดิษฐ์ และสนชัย ใจเย็น. (2559). การพัฒนางานศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 3 (2), 213-234.
โอภาส การย์กวินพงศ์. (2561). แนวทางการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในด้านโรคติดต่ออุบัติใหม่และโรคระบาดตามกรอบกฎอนามัยระหว่างประเทศ ค.ศ. 2005. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
ฤทัย วรรธนวินิจ. (2561). แนวทางในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบสุขภาพโดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอำเภอ ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
Chua, A. Q., Tan, M. M. J., Verma, M., Han, E. K. L., Hsu, L. Y., Cook, A. R., & Legido-Quigley, H. (2020). Health system resilience in managing the COVID-19 pandemic: lessons from Singapore. BMJ global health, 5(9), 1-17.
Jin, H., Lu, L., Liu, J., & Cui, M. (2021). COVID-19 emergencies around the globe: China’s experience in controlling COVID-19 and lessons learned. International Journal for Quality in Health Care, 33(1), 1-9.
Tessema, G. A., Kinfu, Y., Dachew, B. A., Tesema, A. G., Assefa, Y., Alene, K. A., & Tesfay, F. H. (2021). The COVID-19 pandemic and healthcare systems in Africa: a scoping review of preparedness, impact and response. BMJ global health, 6(12), e007179.