อิทธิพลของความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การสู่ความตั้งใจคงอยู่ในงานของพนักงานในสถานประกอบกิจการเกี่ยวกับการตัดกรอผ้าใยสังเคราะห์ จังหวัดระยอง

Main Article Content

ธนวัชฐุ์ เกษศิลา
Sumalee Ramanust
Thanyanan Boonyoo

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความพึงพอใจในงาน ความผูกพันต่อองค์การ และความตั้งใจคงอยู่ในงาน 2) ความพึงพอใจในงานที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความตั้งใจคงอยู่ในงาน และ 3) ความผูกพันต่อองค์การที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความตั้งใจคงอยู่ในงานของพนักงานในสถานประกอบกิจการเกี่ยวกับการตัดกรอผ้าใยสังเคราะห์ จังหวัดระยอง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานในสถานประกอบกิจการเกี่ยวกับการตัดกรอผ้าใยสังเคราะห์ จังหวัดระยอง จำนวน 100 คน สถิติที่ใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม สถิติใช้ในการวิจัย คือ ค่าแความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้โปรแกรม Smart PLS 3.0


ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับของการสนับสนุนจากองค์การ ความพึงพอใจในงาน ความผูกพันต่อองค์การ และความตั้งใจคงอยู่ในงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17, 4.24, 4.23 และ 4.14 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.865, 0.762, 0.786 และ 0.861 ตามลำดับ 2) การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความพึงพอใจในงาน และความผูกพันต่อองค์การ มีอิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจคงอยู่ในงาน มีค่าเท่ากับ 0.167, 0.098 และ 0.850 ตามลำดับ ส่วนการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความตั้งใจคงอยู่ในงาน มีค่าเท่ากับ 0.021 3) การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมีอิทธิพลทางตรงต่อความพึงพอใจในงาน มีค่าเท่ากับ 0.876 และการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ อิทธิพลทางตรงต่อความผูกพันต่อองค์การ มีค่าเท่ากับ 0.901 ซึ่งจากผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การส่งผลต่อความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การ แต่ไม่ส่งผลต่อต่อความตั้งใจคงอยู่ในงาน และความพึงพอใจในงานไม่ส่งผลต่อความตั้งใจคงอยู่ในงาน โดยอิทธิพลของความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การ เป็นตัวเชื่อมโยงการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การสู่ความตั้งใจคงอยู่ในงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิราพร ระโหฐาน. (2559). ความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร คุณภาพชีวิตและความสุขในการทำงานกับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กรสุขภาวะเขตพื้นที่ภาคตะวันออก.วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 13(2), 24-34.
ธัญนันท์ บุญอยู่. (2562). อิทธิพลของวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพชีวิตในงานที่มีต่อความสุขในการทำงานของพนักงานวิสาหกิจขนาดย่อมของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มในเขต 12กรุงเทพมหานคร. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 11(2), 191-207.
นิรุธ เจริญลอย. (2560). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร และการรับรู้ความยุติธรรมในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานที่ปฏิบัติงานภาคพื้นดินในสายการบินไทยแอร์เอเชีย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
เบญจม์ภัทร์ แสงโสฬส. (2560). การปรับตัวของนักศึกษาระบบทวิภาคีในบริษัท แพรนด้า จิลเวลรี่ จำกัด (มหาชน) ที่มีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว), มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ปณิธาน จิยะจันทน์. (2559). การพัฒนาทรัพยากรบุคคลกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เพ็ญนภา จันทร์สุวรรณ. (2557). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของบุคลากรสานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช. การค้นคว้าอิสระปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการ), มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
มนตรี พิริยะกุล. (2553). ตัวแบบเส้นทางกำลังสองที่น้อยที่สุดบางส่วน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มารุต มณีสถิต. (2558). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งใจลาออกของพนักงานในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม), วิทยาลัยการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
โยษิตา กฤตพรพินิต. (2557). อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงาน กรณีศึกษาบริษัท ธีรชัยไพศาล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารธุรกิจ), มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ลดาพร เอกพานิช. (2562). พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรและความผูกพันต่อองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสายบริการมหาวิทยาลัยนเรศวร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการประยุกต์), มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
สิริพิมพ์ ชูปาน. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์, 25(4), 1-10.
อรอนงค์ เกาทัณฑ์. (2560). แรงดึงดูดขององค์การและความเหมาะสมในงานที่พยากรณ์ความตั้งใจคงอยู่ในงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
อัญชลี พัฒนารังคะ. (2561). ความเชื่ออำนาจภายในตนและการสื่อสารภายในองค์การที่พยากรณ์ความพึงพอใจในงานของพนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร มหาบัณฑิต (สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Cowden, T. L., & Cummings, G. G. (2012). Nursing theory and concept development: a theoretical model of clinical nurses’ intentions to stay in their current positions. Journal of advanced nursing, 68(7), 1646-1657.
Dibble, S. (1999). Keeping your valuable employees: retention strategies for your organization's most important resource. John Wiley & Sons.
Hackman, J. R., & Oldham, G. R. (1975). Development of the job diagnostic survey. Journal of Applied psychology, 60(2), 159.
Heneman III, H. G., & Milanowski, A. T. (2004). Alignment of human resource practices and teacher performance competency. Peabody Journal of Education, 79(4), 108-125.
Mohammed, S. A., & Ali, M. (2016). Effects of Perceived Organizational Support on Employees’ Job Satisfaction. International Journal Research and Review, 3(3), 2454-2237.
Sangtian, W., Boonyoo, T., & Piriyakal, M. (2019). Effects of psychological efficacy and job involvement toward the job performance of state enterprise bank employees in Bangkok. Bangkok: Suan Sunadha Rajabhat University.
Shukla, A., & Rai, H. (2015). Linking perceived organizational support to organizational trust and commitment: Moderating role of psychological capital. Global Business Review, 16(6), 981-996.