ผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของ ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอสองแคว จังหวัดน่าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของ ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอสองแคว จังหวัดน่าน 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของ ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอสองแคว จังหวัดน่าน และ 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติ ของ ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอสองแคว จังหวัดน่าน การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ คณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอสองแคว จังหวัดน่าน จำนวน 157 คน เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณเชิงเส้นตรง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ คณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอสองแคว จังหวัดน่าน จำนวน 15 คน เก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของ ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอสองแคว จังหวัดน่าน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( - 424) เมื่อจำแนกเป็นรายค้าน พบว่า ค้านการมีประสิทธิผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.26) รองลงมาคือ ด้านการมีประสิทธิภาพของการนำนโยบายไปปฏิบัติคู่อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.25) และด้านการตอบสนอง อยู่ในระดับมาก ( = 4.20) และระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของ ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอสองแคว จังหวัดน่าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.34)เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน คือ ด้านสมรรถนะขององค์การ ( = 4.46) รองลงมา คือ ด้านภาวะผู้นำและความร่วมมือ ( = 4.38) และด้านการวางแผนและควบคุม และด้านการเมืองและการบริหารสภาพแวดล้อมภายนอก ( = 4.26) ทั้งนี้ ปัจจัยด้านที่ส่งผลต่อ ผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของ ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอสองแคว จังหวัดน่านมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 มีจำนวน 4 ปัจจัย เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการวางแผนและควบคุม (X1, Beta = 0.459), ด้านภาวะผู้นำและความร่วมมือ (X3, Beta =0.194), ค้านสมรรถนะขององค์การ(X2, Beta = 0.143),และด้านการเมืองและการบริหารสภาพแวดล้อมภายนอก (X4, Beta = 0.139) และพบว่า ปัญหาอุปสรรคที่พบมากที่สุด คือ เรื่องของการแต่งตั้งโยกย้ายของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอสองแคว จังหวัดน่าน และด้านสมรรถนะขององค์การในเรื่องของการขาดแคลนบุคลากร และได้รับการจัดสรรอุปกรณ์ที่ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
Article Details
References
ชินภัทร สารสิน. (2544). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ชั้นประทวน :ศึกษากรณีกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด.วิทยานิพนธ์มนุษยวิทยา มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธิราภรณ์ สายอ้าย. (2552). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดใน
อำเภอแม่ทะจังหวัดลำปาง.กรุงเทพฯ: บริษัททรัพย์สุรีย์จากัด.
พสกพร สุขุมมะสวัสดิ์และธนวัฒน์ พิมลจินดา (2562).การนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
ไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชลบุรี. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง. 9, 2
(พฤษภาคม-สิงหาคม): 105-124.
ระพีพันธ์โพนทอง, พรนภา เตียสุธิกุล และภิศักดิ์ กัลยาณมิตร.(2559).ผลการนำนโยบายการป้องกันและ
ปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี . วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 6, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม): 41-53.
วรเดช จันทรศร และลิขิต ธีรเวคิน.(2530).การนำนโยบายไปปฏิบัติในระบบราชการไทย.กรุงเทพฯ
: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วรเดช จันทรศร.(2551). ทฤษฏีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
วัลลภา บุณยมานพ. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน
แออัดเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ.(2552).
การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอาชญากรรมระดับชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนหัวรถจักร
ตึกแดงเขต 1 เขตบางซื่อกรุงเทพมหานคร .กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ.
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.(2562).นโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาล.ออนไลน์
สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2563,จากเว็บไซต์ : https://spm.thaigov.go.th/CRTPRS/spm-sp- layout6.asp?i=41111%2E42323702112113121111311.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.(2563). แผนปฏิบัติการเพื่อเอาชนะยาเสพติด พศ.
2563. กรุงเทพฯ : กระทรวงยุติธรรม.
Holwick, Jana W. (2009). Assessment of Institutional Strategic Goal Realization: A Case Study.
Doctor of Philosophy Dissertation, School of Education, Capella University, U.S.A.
Likert, Rensis A. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill.
Van Meter, Donald S. and Van Horn, Carl E. (1975). The Policy Implementation Process: A Conceptual
Framework. Administration & Society. 6,4 (February 1975): 477.