การศึกษาความเหมาะสมในการบริหารปกครองด้านอุทกภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เศรษฐกิจจังหวัดระยองภายใต้แนวคิดการบริหารปกครองท้องถิ่น -

Main Article Content

น.ท.ณรงค์ พรมสืบ
จักรชัย สื่อประเสริฐสิทธิ์
อุษณากร ทาวะรมย์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมในการบริหารปกครองด้านอุทกภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เศรษฐกิจจังหวัดระยองภายใต้แนวคิดการบริหารปกครองท้องถิ่น ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแทนเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่เศรษฐกิจจังหวัดระยองรวมทั้งสิ้น 30 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา แบบหน่วยบริบท


          ผลการวิจัยพบว่า ความเหมาะสมในการบริหารปกครองด้านอุทกภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เศรษฐกิจจังหวัดระยองภายใต้แนวคิดการบริหารปกครองท้องถิ่น ภาครัฐต้องลดบทบาทของรัฐลงและเปิดพื้นที่ให้กับตัวแสดงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ภาครัฐได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารรัฐกิจให้เกิดประโยชน์สาธารณะได้อย่างแท้จริง โดยรัฐมีบทบาทเป็นเพียงผู้กำกับและคอยประสานความร่วมมือ โดยรูปแบบที่เหมาะสมของการบริหารจัดการอุทกภัยในพื้นที่เศรษฐกิจจังหวัดระยองภายใต้แนวคิดการปกครองท้องถิ่น มีหลักการสำคัญ ประกอบด้วย ความร่วมมือระหว่างสมาชิกในเครือข่าย เป็นการสร้างความร่วมมือร่วมใจระหว่างสถาบันหรือองค์กรที่เป็นสมาชิกเครือข่ายองค์กร หลักการใช้การเจรจา เป็นการใช้การเจรจาของผู้กำหนดนโยบายกับตัวแสดงแทนกฎ ระเบียบ และคำสั่งเพื่อมิให้กระทบพฤติกรรมความร่วมมือที่มีอยู่ของผู้กำหนดนโยบายกับตัวแสดง หลักความยืดหยุ่น โดยเครือข่ายจำเป็นต้องเป็นองค์กรที่ยืดหยุ่น ผู้บริหารเครือข่ายใช้หลักความยืดหยุ่น และมีความสามารถในการปรับตัวเพื่อจะนำไปสู่ผลลัพธ์ของโครงการ และความเชื่อถือและความไว้วางใจ โดยเครือข่ายมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันภายในเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ มีความไว้วางใจในหมู่สมาชิก เพื่อนำมาควบคุมกำกับดูแลการบริหารจัดการอุทกภัยให้เป็นไปตามกรอบนโยบายของภาครัฐที่ได้กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 และแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 เพื่อเพิ่มขีดสมรรถนะให้สามารถสนับสนุนการบริหารจัดการสาธารณ-ภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

- ทวิดา กมลเวช. (2554). คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
- พุฒินาท พุฒินาทวรรณ. (2557). ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(1), หน้า 118-130.
- สุพจน์ตรศักดิ์ หนูขาว. (2558). การบริหารปกครองสิ่งแวดล้อม: ความหมาย ระดับ และรูปแบบกลไกการบริหารปกครอง. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 4(1), หน้า 30-71.
- สำนักงานจังหวัดระยอง. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาจังหวัดระยอง พ.ศ. 2561-พ.ศ. 2564. ระยอง: กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด.
- Bevir, M. (2010). Democratic governance. Princeton, N.J.: Princeton University Press.
- Chhotray, V., & Stoker, G. (2009). Governance theory and practice: A cross-disciplinary approach. Public Administration, 87(4), pp.972-989.
- Goldsmith, S. & William,D. E. (2004). Governing by network: The new shape of the public sector. Washington,
D.C.: Brookings Institution Press.
- Kapucu, N. (2006). Public-nonprofit partnerships for collective action in dynamic, contexts. Public Administration:
An International Quarterly, 84(1), pp. 205-220.
- Peters, B. G. (2015). Advanced introduction to public policy. UK: Edward Elgar Publishing.
- Rhodes, R. A. W. (1996). The new governance: Governing without government. Political Studies, 44(4), pp. 652-667.
- Rhodes, R. A. W. (1997). Understanding governance: Policy networks, governance, reflexivity and accountability.
US: Open University Press, Buckingham.