แนวคิดเชิงจริยธรรมในการบริหารรัฐกิจ: การเปลี่ยนแปลงของแนวคิดเชิงจริยธรรมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเชิงจริยธรรมในการบริหารรัฐกิจ โดยมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของแนวคิดเชิงจริยธรรมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ผลจากการศึกษาพบว่า ในช่วงเวลากว่า 13 ทศวรรษ นับตั้งแต่เกิดสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจขึ้นมา แนวคิดเชิงจริยธรรมในการบริหารรัฐกิจสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค ได้แก่ (1) จริยธรรมในการบริหารภาครัฐแบบดั้งเดิม (Traditional Public Administration: TPA) ซึ่งแนวคิดเชิงจริยธรรมตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎเกณฑ์และแนวคิดเรื่องประสิทธิภาพ (2) จริยธรรมในการบริหารภาครัฐแนวใหม่ (New Public Administration: NPA) ซึ่งแนวคิดเชิงจริยธรรมตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรมในสังคมและการตัดสินใจจากสำนึกที่อยู่ภายในของบุคคล และ (3) จริยธรรมในการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM) ซึ่งแนวคิดเชิงจริยธรรมตั้งอยู่บนพื้นฐานของการบริหารงานโดยมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ และในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ไว้ว่าการเปลี่ยนแปลงของแนวคิดเชิงจริยธรรมเป็นผลมาจากสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ (1) แนวคิดเชิงจริยธรรมในแต่ละยุคมีจุดอ่อนและข้อบกพร่องในตัวเอง และ (2) บริบทในด้านต่าง ๆ ของโลก เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี เปลี่ยนแปลงไป