วิวัฒนาการของอาเซียน: สู่การเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

Main Article Content

พิชญ์อาภา พิศุทธ์เศรณี

บทคัดย่อ

นิยามและองค์ประกอบของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ที่ได้รับการให้คำนิยามจากรัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนนั้น แตกต่างไปจากคำนิยามของนักวิชาการทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ศึกษาเรื่อง “ประชาคมความมั่นคง” จากการศึกษาพบว่าบทบาทของอาเซียนต่อการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะที่มีพลวัต คือ เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศและพัฒนาการของความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนในแต่ละช่วงเวลา จากการพิจารณาคุณสมบัติตามกรอบความคิดเรื่องประชาคมความมั่นคงที่พัฒนาขึ้นจากกรอบความคิดของ Amitav Acharya สรุปได้ว่า อาเซียนและประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนมีคุณสมบัติในการเป็นประชาคมความมั่นคงขั้นที่ 1 คือ ขั้นเริ่มต้นโดยสมบูรณ์ เพราะมีการมองเห็นภาพของภัยคุกคามร่วมกัน มีการคาดหวังผลประโยชน์ทางการค้าซึ่งกันและกัน และการมีอัตลักษณ์ร่วมกันในระดับหนึ่ง อาเซียนมีคุณสมบัติบางส่วนของการเป็นประชาคมขั้นที่ 2 คือ มีความร่วมมือทางการทหารอย่างผิวเผิน และมีอัตลักษณ์ร่วมด้านการสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบอย่างผิวเผิน นอกจากนี้ อาเซียนมีคุณสมบัติของการเป็นประชาคมขั้นที่ 3 หรือขั้นเติบโตเต็มที่ เพราะอาเซียนมีการเป็นสถาบัน แต่อาเซียนไม่มีคุณสมบัติการมีภาวะเหนือชาติ และประเทศสมาชิกไม่มีความไว้วางใจกันในระดับสูง และยังมีความเป็นไปได้ในระดับสูงที่จะเกิดความขัดแย้งทางทหาร

Article Details

บท
บทความวิชาการ