การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา

Authors

  • ทิพวรรณ เหมอารัญ นิสิตปริญญาเอก สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • วัยวุฑฒ์ อยู่ในศิล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กันต์ฤทัย คลังพหล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยองกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์

Keywords:

การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อย่างสร้างสรรค์, โมเดลเชิงสาเหตุ

Abstract

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 331 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดความสามารถในการคิดทางคณิตศาสตร์  แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์  แบบวัดการคิดอเนกนัย  และแบบบันทึกพื้นฐานความรู้  ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรม LISREL 8.72  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

    ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อย่างสร้างสรรค์นั้นประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ  ความสามารถในการคิดทางคณิตศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์  โมเดลเชิงสาเหตุของความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์  (c2 = 44.09, df = 33,  p = 0.09, GFI = 0.98, RMSEA = 0.32, AGFI = 0.95)  ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ได้ร้อยละ 85  และสามารถอธิบายความแปรปรวนของปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดทางคณิตศาสตร์ได้ร้อยละ 59  ปัจจัยพื้นฐานความรู้มีอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถในการคิดทางคณิตศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์  ส่วนปัจจัยการคิดอเนกนัยมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความสามารถในการคิดทางคณิตศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์โดยส่งผ่านปัจจัยพื้นฐานความรู้

Downloads

Published

2018-03-16