รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Authors

  • ชุมสุข สุขหิ้น นิสิตระดับปริญญา เอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สิริวรรณ ศรีพหล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • จารุวรรณ พลอยดวง วิทยาลัยวิจัยนวัตกรรมทางการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

Keywords:

รูปแบบการจัดการเรียนรู้, การเรียนรู้เชิงปฏิบัติ, การคิดวิเคราะห์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, instructional model, Active Learning, Learning achievement, Analytic thinking

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และเพื่อประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีวิจัยและพัฒนา ซึ่งทำการศึกษากับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 1 โรงเรียนปัญญาทิพย์ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 27 คน

ใช้เวลาในการทดลอง 24 ชั่วโมง วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น  2 ระยะที่มีขั้นตอนต่อเนื่องกัน ดังนี้ ระยะที่ 1 สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลแนวคิดทฤษฎีจากเอกสารและงานวิจัย ขั้นตอนที่ 2  การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้  และระยะที่ 2 การประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้  โดยผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

         1.รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่  1) หลักการของรูปแบบ  2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ  3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ และ  4) การวัดและประเมินผลของรูปแบบ ในส่วนของกระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ 1)ขั้นออกแบบการเรียนรู้ 2)ขั้นปฏิบัติการเรียนรู้ 3)ขั้นประเมินการเรียนรู้ 4)ขั้นวินิจฉัยการเรียนรู้  โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ที่ผู้วิจัยพัฒนามีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 – 1.00 และมีความเหมาะสม อยู่ในระดับดี (  =4.46 ,  = 0.72)

  1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีประสิทธิผลดังนี้

           2.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นหลังการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05

          2.2 นักเรียนมีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นหลังการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Published

2018-03-16