การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวพุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ในบริบทสังคมไทย

Authors

  • ปริญดา พิมานแมน นิสิตหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ดนุลดา จามจุรี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • วัยวุฑฒ์ อยู่ในศิล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • Sascha Helbardt The Department of Mainland Southeast Asian Studies University of Passau

Keywords:

การพัฒนารูปแบบ, การจัดการเรียนรู้, พหุวัฒนธรรมศึกษา, นักเรียนระดับประถมศึกษา

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ในบริบทสังคมไทย และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ในบริบทสังคมไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพิมานวิทย์นราธิวาส สังกัดสำนักงานคณะกรรมส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวนทั้งหมด 254 คน ดำเนินการในลักษณะการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับนักเรียนประถมศึกษา ระยะที่ 2 การตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา มีกระบวนการจัดการเรียนรู้พหุวัฒนธรรมศึกษา ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 สำรวจวัฒนธรรมของตนเองและผู้อื่น ขั้นที่ 2 ปรับทัศนคติจากองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรม ขั้นที่ 3 และเปลี่ยนประสบการณ์ทางวัฒนธรรม ขั้นที่ 4 ทบทวนเพื่อสะท้อนคิด  2) ประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ พบว่าระดับค่าความแปรปรวนพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพหุวัฒนธรรมของนักเรียนเพิ่มขึ้นทั้ง 3 ตัวชี้วัดหลังการเรียนรู้ตามแนวพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับนักเรียนมีแนวโน้มสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Published

2018-03-16

How to Cite

พิมานแมน ป., จามจุรี ด., อยู่ในศิล ว., & Helbardt, S. (2018). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวพุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ในบริบทสังคมไทย. Journal of Research and Curriculum Development, 7(2), 99–114. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jrcd/article/view/115666