การพัฒนาสังคมและชุมชนภายใต้จิตสาธารณะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาประเทศไทยในห้วงเวลาที่ผ่านมาเป็นการพัฒนาประเทศในลักษณะรูปธรรมเสียเป็นส่วนใหญ่เช่น โครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ อาคารต่างๆ เป็นต้น จนช่วงเวลาหนึ่งประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นมาก กระทั่งวิกฤติเศรษฐกิจปี พ.ศ.2540 ที่ผ่านมากลายเป็นตัวอย่างและประสบการณ์สำคัญของประชาชนชาวไทย รวมถึงภาครัฐที่ตระหนักว่าการพัฒนาวัตถุแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ได้ทำให้ประเทศไทยสามารถเดินหน้าได้อย่างแท้จริง จึงต้องมีการพัฒนาทางด้านจิตใจควบคู่ เพื่อให้ประชาชนชาวไทยเกิดสำนึกและสร้างให้การพัฒนาเกิดประสิทธิภาพมากขึ้นได้ คำว่า “จิตสาธารณะ” จึงเป็นคำหนึ่งที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานั้น โดยมีจุดประสงค์สำคัญต้องการให้ประชาชนชาวไทยตระหนักและให้ความสำคัญแก่ผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าการให้ความสำคัญแก่ตนเอง ซึ่งบทความฉบับนี้จะเป็นการตีความและขยายคำว่า “จิตสาธารณะ” อีกครั้งให้มีความหมายครอบคลุมถึงความรับผิดชอบต่อสังคมเพิ่มเติม เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าหากประชาชนชาวไทยขาดจิตสาธารณะ จะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างทางสังคมเช่น ประเทศไทย สังคมหรือชุมชนต่างๆ ภายในประเทศ จนเกิดปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองต่างๆ ขึ้นมาเช่น ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด เป็นต้น รวมถึงการเสนอแนวทางในการสร้างจิตสาธารณะเช่น การสอนและการปลูกฝังจิตสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนชาวไทยเกิดจิตสาธารณะแท้ขึ้นมาเป็นแนวทางสำคัญหนึ่งในการพัฒนาทุนมนุษย์ จนส่งผลกระทบให้สังคมและประเทศไทยเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและแท้จริง
Article Details
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2527). จิตสํานึกของชาวนา : ทฤษฎีและแนวการวิเคราะห์แบบเศรษฐศาสตร์ การเมือง. กรุงเทพฯ: เจ้าพระยา.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). จอมปราชญ์นักการศึกษา. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.
ชูชัย ศุภวงศ์. (2540). แนวคิดพัฒนาการและข้อพิจารณาเกี่ยวกับประชาสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐและคณะ. (2540). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน สาธารณสุขมูลฐานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน ณ ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชาย โพธิสิตา. (2541). จิตสํานึกต่อสาธารณะสมบัติ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล .
บรรทม มณีโชติ. (2530). การศึกษารูปแบบของข้อคำถามวัดลักษณะนิสัยด้านความเสียสละชนิดข้อความและชนิดสถานการณ์ที่มีผลต่อคุณภาพของแบบทดลอง. ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต (จิตวิทยาการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พระไพศาลวิสาโล. (2550). เติมเต็มชีวิตด้วยจิตอาสา. กรุงเทพฯ: เครือข่ายพุทธิกา.
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรมและสังคม สัญจร. (2543). สํานึกไทยที่พึงปรารถนา. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). พจนานกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
วิภาพันธ์ ก่อเกียรติขจร. (2544). สรุปสถานการณ์สังคมไทย 2539 : มุมมองและข้อเสนอจากเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการเผยแพร่และส่งเสริมการพัฒนา.
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี. (2541). บทบาทของมหาวิทยาลัยกับการศึกษาเพื่อความเป็นประชาสังคม. ASAIHL-THAILAND JOURNAL, 1(1), 52-69.
สมพงษ์ สิงหะพล. (2542). ต้องสอนให้เกิดจิตสํานึกใหม่. ครูเชียงราย. 13 เมษายน (27), 15-16.
สุรพล ปธานวนิช. (2547). นโยบายสังคมเส้นทางสู่รัฐสวัสดิการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพแห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2542). วาระการวิจัยแห่งชาติในภาวะวิกฤตเพื่อฟื้นฟูชาติ. กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.
แสน กีรตินวนันท์. (2557). กระบวนการสร้างความเข้มแข็งสวัสดิการชุมชนบนอัตลักษณ์ความเป็นจีน กรณีศึกษาชุมชนโบ๊เบ๊. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Kraft, P. N. (1992). Nurturing social consciousness through church education. University of Pittsburgh. Abstract from : DAO Item: AAI9226525.
Oslan, A., Blekher, L. and Chesnokaea, V. (2000). Distant Communication Project. [Online]. Retrieved May 10, 2013 from: http://www.russ.ru/ds/english.htm.//
Sills, D. L. (1972). Leadership. International encyclopedia of the social sciences. New York: The Macmillan & the free press.