การนำนโยบายไปปฏิบัติของฝ่ายบริหารตามหลักการบริหารแบบแนวพุทธ
Main Article Content
บทคัดย่อ
นโยบายเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศและมีบทบาทอย่างยิ่งในการกำหนดทิศทางต่อการบริหารงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ว่าให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้อยู่ดี กินดี มีสุข แต่ที่ผ่านมาพบว่านโยบายส่วนใหญ่มีการแอบแฝงผลประโยชน์เกี่ยวกับนโยบายของฝ่ายบริหารที่มีลักษณะเชิงหาเสียงหรือเอาใจประชาชนโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ ดังนั้นต้องนำหลักการบริหารแบบแนวพุทธ (พุด – ทะ) มาประยุกต์ใช้กับการนำนโยบายไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนอย่างแท้จริง เพราะการบริหารงานแบบแนวพุทธเปรียบได้กับฝ่ายบริหารเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบาน ดังธรรมะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีมากถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ ที่ฝ่ายบริหารหรือบุคคลทั่วไปสามารถนำมาเป็นแนวปฏิบัติในการบริหารหรือการดำเนินชีวิตเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งส่วนตนและส่วนรวมได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองทุนร่มจำปา.(2556). วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรมและภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม ของพุทธทาสภิกขุ. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว).
ช่อลดา ติยะบุตร. (2556). จิตวิทยาธุรกิจ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตย์.
พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2539). คุณธรรมสำหรับนักบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:สำนักงาน ก.พ..
วรเดช จันทรศร. (2556). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: หจก.สหายบล็อกและการพิมพ์จำกัด.
Gdwards, Georgc C. lll and Sharkansky, Ira. (1978). The Policy Predicament: Making and Implementing Public Policy. San Francisco: W.H. Freeman and Company.
Van Horn, Carl E., and Donald S. Van Meter. (1976). The Implementation of Intergovernmental Policy," in Charles O.Jones, and Robert D. Thomas eds.,Public Policy Marking in a Federal System. California : Sage Publications, Inc.
Williams, Walter. (1975). Implementation Analysis and Assessment. Policy Analysis. 1( 3) (Summer).