พัฒนาการและการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและกลไก การจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกระทรวงศึกษาธิการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มุ่งหมายศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการและการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและกลไกการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกระทรวงศึกษาธิการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์เชิงลึก (Indept Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 และ เขต 2 ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 ครู ผู้บริหารโรงเรียน และอดีตข้าราชการครู ที่มีความรู้และประสบการณ์ ผ่านการปฏิบัติงานในทุกโครงสร้างและกลไกการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของการศึกษาในครั้งนี้ จำนวน 49 คน การวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาในครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยได้ข้อสรุป ดังนี้ การศึกษาครั้งนี้มีผลการศึกษา คือการจัดโครงสร้างและระบบบริหารการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2536-2546 กรมที่มีหน้าที่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติและกรมสามัญศึกษา การจัดโครงสร้างและระบบบริหารการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2546-ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน แรงผลักดันที่ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและกลไกการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2536-2546 เกิดจากการตราพระราชบัญญัติการปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม ในการบริหารราชการแผ่นดิน ส่วนแรงผลักดันที่ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและกลไกการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2553-ปัจจุบัน เกิดจาก ครูมัธยมศึกษาและผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา รู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในการบริหารจัดการศึกษา แบบแผนความเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างและกลไกในการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือรูปแบบการขยายตัวเป็นไปตามการขยายตัวขององค์กรในหน่วยราชการ การศึกษาในเรื่องดังกล่าว ผู้ศึกษาให้ข้อเสนอแนะว่าควรจะมีการศึกษาต่อเนื่องในเรื่องการบริหารการศึกษาในโครงสร้างและกลไกการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปัจจุบันนี้ (พ.ศ.2559-2560) เนื่องจากมีการปฏิรูประบบราชการในหลายประเด็นโดยเฉพาะในเรื่องของการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและกลไกการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกระทรวงศึกษาธิการ ตามนโยบายรัฐบาลเพื่อให้ทราบปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการ นำผลที่ได้ไปแก้ปัญหาในเรื่อง ดังกล่าวต่อไป
Article Details
References
พระราชบัญญัติประถมศึกษา พระพุทธศักราช2464.(2464,23 กันยายน).ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม38หน้า 248.
พระราชบัญญัติโอนโรงเรียนประถมศึกษาบางประเภทไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด พุทธศักราช 2509. (2509,16 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 83 ตอนที่ 79., หน้า 9-14.
ประไพ เอกอุ่น.(2542). ประวัติความเป็นมาของการศึกษาไทย.ค้นเมื่อ 12 เมษายน 2557. จาก http://www.kroobannok.com/3345.
รพีพรรณ ลาวัณยจรัสโยธิน.(2556).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่2 พ.ศ.2545 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร:บริษัทสำนักพิมพ์เดอะบุคส์จำกัด.
วรเดช จันทรศรและวินิต ทรงประทุม.(2528).ระบบราชการไทย:สภาพปัญหาและข้อเสนอจากฝ่ายการเมืองข้าราชการ นักวิชาการและธุรกิจเอกชน.กรุงเทพมหานคร:สหายบล็อกการพิมพ์.
สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่สงถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับการรองรับการกระจายอำนาจในการจัดการศึกษา. วารสารการเมืองการปกครอง, 6(2).
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง,กระทรวงศึกษาธิการ. แนะนำกระทรวง. (2557). ค้นเมื่อ 12 เมษายน 2557 จาก http:www.moe.go.th/moe/Profile/index.PhP .
อำนาจ จันทรขำ.(2553).พัฒนาการของการบริหารการประถมศึกษาไทยช่วงเวลาภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติคณะกรรมการประถมศึกษา พ.ศ.2523.ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Voradej Chandarasorn. (1985). Patterns of Organizational Expansion in the Thai Public Bureaucracy: A Study of Agencies Functional Responsibilities 1969-1982. New York University,U.S.A.