ความคิดเห็นของนิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครองต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ของวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของนิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครองต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของนิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครองต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ 3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของนิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครองต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตที่ศึกษาในปีการศึกษา 2559 สังกัดวิทยาลัยการเมืองการปกครอง จำนวน 367 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ Chi-square วิเคราะห์ความแตกต่าง t-test, F-test (ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตมีระดับความคิดเห็นต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (=3.60) แยกเป็นแต่ละด้านดังนี้ ด้านห้องเรียน อยู่ในระดับมาก (
=3.66) ด้านห้องสมุด อยู่ในระดับมาก (
=3.75) ด้านห้องคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับมาก (
=3.61) และด้านอาคาร สถานที่ อยู่ในระดับปานกลาง (
= 3.39) 2) นิสิตชั้นปีต่างกันมีความคิดเห็นต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทั้ง 4 ด้านแตกต่างกัน นิสิตเอกวิชาต่างกันมีความคิดเห็นต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้านห้องเรียน แตกต่างกัน แต่มีความคิดเห็นต่อด้านห้องสมุด ด้านห้องคอมพิวเตอร์ ด้านอาคารสถานที่ ไม่แตกต่างกัน และนิสิตที่มีเพศ ระบบการศึกษา พฤติกรรมและประสบการณ์การใช้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทั้ง 4 ด้านไม่แตกต่างกัน 3) ปัญหาที่นิสิตพบคือ ห้องเรียนมีอากาศไม่ถ่ายเท ห้องสมุดที่นั่งอ่านหนังสือ นั่งทำงานไม่เพียงพอ ห้องคอมพิวเตอร์มีเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ ใช้งานไม่ได้ และอาคารสถานที่ สัญญาณ Wifi ไม่ครอบคลุมทุกชั้นของตึก ข้อเสนอแนะคือ ควรติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับขนาดห้องเรียน เพิ่มจำนวนโต๊ะและเก้าอี้ให้เพียงพอ จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยให้เพียงพอ พร้อมกับเปิดให้นิสิตได้เข้าใช้บริการ และเพิ่มที่จอดรถจักรยานยนต์พร้อมไฟส่องสว่างบริเวณที่จอดรถ