ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชน ตำบลหวายเหนียว อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

ศราวุฒิ ครุฑศิริ
นิรันดร์ ยิ่งยวด
อภิชาติ ใจอารีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนตำบลหวายเหนียว และปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนตำบลหวายเหนียว อำเภอท่ามะกา  จังหวัดกาญจนบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามชนิดกึ่งโครงสร้างกับประชากร คือ ประธานและสมาชิกวิสาหกิจชุมชนตำบลหวายเหนียว จำนวน 100 คน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลวิจัย พบว่า สมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนในระดับสูง มีส่วนร่วมในกิจกรรมของวิสาหกิจชุมชน มีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านเกษตรกรรมและภาวะความเป็นผู้นำในระดับมากวิสาหกิจชุมชนตำบลหวายเหนียว  มีความเข้มแข็งโดยภาพรวมและรายด้าน คือ การบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชน การผลิตสินค้าและบริการ และการพึ่งพาตนเองด้านการจัดสรรทรัพยากรอยู่ในระดับมากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ตัวแปรที่มีผลต่อความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชน(Y) ได้แก่ ภาวะความเป็นผู้นำ (X8)   และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตรกรรม (X7) โดยร่วมกันอธิบายความแปรปรวน ของความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชน ได้รวมร้อยละ 33.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Ŷ = 1.373 + .294 X8 + .324 X7
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Ẑ = .358 Z X8 + .311 Z X7


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกกาญจน์ มะลาง. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนพระบาทห้วยต้มตำบลนาทราย อำเภอลี้จังหวัดลำพูน (การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

กนกพร ฉิมพลี. (2555). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน:กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. (2548). พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนพ.ศ.2548. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการ, กรมส่งเสริมการเกษตร.

จักรีศรีจารุเมธีญาณ, และพระถนัดวฑฺฒโน. (2561). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาชุมชน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร,6 (ฉบับพิเศษ), 527-538.

ชวน เพชรแก้ว. (2547). การยกระดับและการปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในสถานการณ์ปัจจุบัน. วารสารภาษาไทย, 2(3), 14-23.

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ, และพิทยา ว่องกุล. (2554). วิสาหกิจชุมชน: กลไกเศรษฐกิจฐานราก.กรุงเทพฯ:ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดลฤดี จันทร์แก้ว, และวิรินดา สุทธิพรม. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตรกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย.วารสารการพัฒนาชุมชุนและคุณภาพชีวิต, 4(2), 188-199.

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร, และอุทิศ สังขรัตน์. (2557). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 10(1), 97-122.

นลินี หอวงศ์รัตนะ, บุษบา สว่างใจ, ภัทราภรณ์ มุ่งสวัสดิ์, ศิริวรรณ หวังดี, ทัศนา คิดสร้าง, ดวงสมร พฤฑฒิกุล, และสุจิรา กิจเจริญ. (2550). กลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมผลิตข้าวพันธุ์ดีบ้านห้วยหมากตำบลโพธิ์พระยา อำเภอเมืองสุพรรณบุรีจังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ:กรมส่งเสริมการเกษตร.

ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล, และสุภาพ ฉัตราภรณ์. (2555). การออกแบบการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 7 ปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ไพบูลย์ พันธุ์วงศ์, จักรพงษ์ พวงงามชื่น, นคเรศ รังควัต, และสายสกุล ฟองมูล. (2559). ความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(2), 189-202.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2559). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิทยาจันทะวงค์ศรี. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม (การค้นคว้าอิสระปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์).มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

สัจจา บรรจงศิริ, บุญญฤทธิ์ มุ่งจองกลาง, และปาลีรัตน์ การดี. (2554). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2548). ภาวะผู้นำทฤษฎี และปฏิบัติ: ศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิรัตน์ เอ็คดูเคชั่น.

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2545). รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสรี พงศ์พิศ. (2552). คู่มือทำวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: พลังปัญญา.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

อคิน รพีพัฒน์. (2547). การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา.กรุงเทพฯ: ศูนย์การศึกษานโยบายสาธารณสุข.

อภิชาติ ใจอารีย์. (2556). สิทธิชุมชน: สิทธิตามรัฐธรรมนูญ. นครปฐม: เพชรเกษม การพิมพ์.

______. (2557). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการแปรรูปหน่อไม้ ของชุมชนบ้านพุเตย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารการเมืองการปกครอง, 4(2), 241-158.

______. (2559). กระบวนการมีส่วนร่วมแบบพหุภาคีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน:กรณีศึกษาการจัดการป่าชุมชนบ้านพุเตย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 36(1), 111-136.

องค์การบริหารส่วนตำบลหวายเหนียว. (2558). ข้อมูลพื้นฐานตำบลหวายเหนียว. กาญจนบุรี:สำนักงานปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลหวายเหนียว.

Best, J. W. (1977). Research in Education(3rded). New Jersey: Prentice hall Inc.

Bloom,B. S., Hastings, J.H., Madaus, G.F., & Baldwin, T.S. (1971).Hand book on Formative and Summative Evaluation of StudentLearning. New York: Mc Graw-Hill Book Company.

Knowles M.S. (1998). The Making of an Adult Education: An Autobiographical Journey. San Francisco: Jossey-Bass.

Komives R.S., Longerbeam D.S., Owen E.J., Mainella C.F., & Osteen L. (2006). A Leadership Identity Development Model: Applications from a Grounded Theory. Journal of College Student Development, 47(4), 401-418.