ความพึงพอใจด้านการศึกษา: กรณีศึกษานิสิตระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

วรินทร รัชโพธิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาต่อการให้บริการของวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 53.25) มีอายุระหว่าง 29 – 35 ปี (ร้อยละ 35.06) และเรียนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (ร้อยละ 59.74) สำหรับความพึงพอใจของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาที่มีต่อการบริการของงานบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (x ̅ =3.56) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย พบว่า ด้านความเอาใจใส่ (x ̅=3.60) ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ (x ̅=3.58) ด้านความไว้วางใจ (x ̅ =3.54) ด้านความมั่นใจ (x ̅ =3.51) และด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ (x ̅ =3.50) ซึ่งมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกด้านและเมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านความเอาใจใส่ มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ เจ้าหน้าที่ยินดีตรวจสอบผลการลงทะเบียนให้กับนิสิตด้วยความเต็มใจ (x ̅ =3.65) ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ แผนการเรียนของนิสิตมีการอธิบายอย่างชัดเจนสามารถปฏิบัติตามได้ (x ̅ =3.79) ด้านความไว้วางใจ มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ เจ้าหน้าที่ให้บริการตอบคำถามเกี่ยวกับกรเรียนการสอนด้วยความถูกต้อง เหมาะสมทุกครั้งของการให้บริการ (x ̅ =3.61) ด้านความมั่นใจ มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ เจ้าหน้าที่มีความรู้ในการใช้ระบบลงทะเบียนเป็นอย่างดี (x ̅ =3.61) ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ เจ้าหน้าที่เต็มใจที่จะอำนวยความสะดวกในการให้คำแนะนำปัญหาการเรียนการสอน ตลอดทั้งการดำเนินการขั้นตอนในการทำวิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระ (x ̅ =3.61)

Article Details

How to Cite
รัชโพธิ์ ว. (2019). ความพึงพอใจด้านการศึกษา: กรณีศึกษานิสิตระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Journal of Politics and Governance, 9(2), 119–132. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/198379
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
โกวิท ประวาลพฤกษ์. (2540). แฟ้มสะสมงาน (Portfolio). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ประเวศ วะสี. (2543). สุขภาพในฐานะอุดมการณ์ของมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สํานักงานปฏิรูปสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
ภิญโญ สาธร. (2532). หลักการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ชวลิต เหล่ารุ่งกาญจน์. (2538). ความพึงพอใจของลูกค้าต่อการให้บริการของธนาคารกรุงเทพฯ จำกัด (มหาชน) ศึกษาเฉพาะกรณีสาขาท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ชริณี เดชจินดา. (2530). ความพึงพอใจของประชาชนต่อศูนย์บริการกำจัด ภาคอุตสาหกรรมแขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A Conceptual Model of Service Quality andIts Implications for Future Research. Journal of Marketing, 49, 41 – 50.
Zeithaml, V. A. (1988). Delivering Quality Service, Balancing Customer Perceptions and Expections. New York: The Free Press.