ความคิดเห็นของเยาวชนลุ่มน้ำโขงต่อบทบาทของพลเมืองไทย กรณีศึกษาเยาวชนจังหวัดเลยและจังหวัดหนองคาย

Main Article Content

กัลยา ยศคำลือ
สุรศักดิ์ รักขพันธ์ ณ หนองคาย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเรียนรู้บทบาทพลเมืองไทยของเยาวชน 2) ศึกษาความคิดเห็นของเยาวชนต่อบทบาทของพลเมืองไทย 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของเยาวชนต่อบทบาทของพลเมืองไทย และ 4) ศึกษาแนวทางพัฒนาบทบาทของพลเมืองไทยตามความคิดเห็นของเยาวชน เป็นวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างวิจัยเชิงปริมาณคือ เยาวชนจังหวัดเลยและหนองคาย ปีการศึกษา 2559 จำนวน 399 คน ใช้วิธีการสุ่มตามสูตรทาโร่ยามาเน่(Taro Yamane) และกลุ่มตัวอย่างวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 60 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยคือ การสังเกต การสัมภาษณ์และแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .909 ใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติการทดสอบที (Independent Sample t-test) และการพรรณนาการเรียนรู้บทบาทพลเมืองไทยและแนวทางพัฒนาบทบาทของพลเมือง ผลการวิจัย พบว่า (1) การเรียนรู้บทบาทพลเมืองไทยของเยาวชนในชั้นเรียนและเรียนรู้แบบ ยูบิควิตัสเลินร์นนิ่ง (Ubiquitous–Learning) เยาวชนระดับอุดมศึกษาจังหวัดเลยศึกษารายวิชาระบบสังคมไทย ระบบสังคมโลกและการเมืองการปกครองไทย เยาวชนระดับมัธยมศึกษาจังหวัดหนองคายศึกษากลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมและการเมืองการปกครองไทย เยาวชนได้รับการกล่อมเกลาให้สามารถปฏิบัติตามบทบาทพลเมืองไทยได้ถูกต้อง (2) ความคิดเห็นของเยาวชนต่อบทบาทพลเมืองไทยภาพรวมอยู่ในระดับมากคือด้านสังคม รองลงมาด้านการเมือง (3) เยาวชนเยาวชนจังหวัดเลยและหนองคายมีความคิดเห็นต่อบทบาทพลเมืองไทยไม่แตกต่างกันและ (4) แนวทางพัฒนาบทบาทพลเมืองไทยคือ ร่วมกันทำให้สังคมประชาธิปไตย มีความเท่าเทียมกัน

Article Details

How to Cite
ยศคำลือ ก., & รักขพันธ์ ณ หนองคาย ส. (2019). ความคิดเห็นของเยาวชนลุ่มน้ำโขงต่อบทบาทของพลเมืองไทย กรณีศึกษาเยาวชนจังหวัดเลยและจังหวัดหนองคาย. Journal of Politics and Governance, 9(2), 106–118. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/198369
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา ยศคำลือ. (2553). การมีส่วนร่วมทางการเมืองศึกษากรณีนักศึกษาภาควิชาสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย,
2(7), กันยายน-ธันวาคม 2552.
_____. (2557). ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดเลย. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 27(9), กันยายน-ธันวาคม 2557.
_____. (2557). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและความพึงพอใจต่อการศึกษาดูงาน ปีการศึกษา 2557 สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย. บทความวิจัยสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 1 นวัตกรรมการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม กรุงเทพมหานคร.
_____. (2558). การมีส่วนร่วมอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นของพลเมือง:ศึกษากรณีประชาชนในเทศบาลตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลยและนักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. Proceeding the 7th International Science, Social Sciences, Engineering and Energy Conference 24-26 November, 2015, Wangchan Riverview Hotel, Phitsanulok Province.
กัลยา ยศคำลือ. (2559). การเรียนรู้ด้านการเมืองและความคิดเห็นต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 ของนักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น วันที่ 19 สิงหาคม 2559.
_____. (2560). วัยใสใส่ใจการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. การประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 8 ชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ. “ทรัพยากรไทย ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสระบุรี วันที่ 29 พฤศจิกายน 2559 ถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2560.
ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นวพรรษ เพชรมณี และปรัชญนันท์ นิลสุช. (2553). Ubiquitous Learning อัจฉริยะแห่งการล่วงรู้บริบท. วารสารวิทยบริการ, 21(1), มกราคม – เมษายน 2553.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร :สุวิริยาสาสน์.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2546). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ B & B Publishing.
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
วัฒนากร วงศ์ธนวสุและพีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์. (2552). สถิติพื้นฐานเพื่องานวิจัยท้องถิ่น.กรุงเทพมหานคร : เอกซเปอร์เน็ท.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550). คู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับ อุดมศึกษา พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.กรุงเทพมหานคร: สภานิติบัญญัติ แห่งชาติ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (ออนไลน์). ข้อมูลระบบการทะเบียน. ค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2559 สืบค้นจาก http://stat.dopa.go.th/statage
Eulau, Heinz. (1974). The Behavioral Persuation in Politics. New York: Random House.
Eric Berne. (1957). Transactional Analysis. Disorders.org. Retrieved October 2015.