ภูมิหลัง แรงจูงใจ และบทบาทของนักการเมืองสตรีท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

อัจฉราพรรณ สิ่วไธสง
เพ็ญณี แนรอท

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภูมิหลัง แรงจูงใจ และบทบาทนักการเมืองท้องถิ่นสตรีจังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการเข้าสู่เวทีการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นสตรีจังหวัดบุรีรัมย์ 3) ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาบทบาทในการบริหารงานของนักการเมืองท้องถิ่นสตรีจังหวัดบุรีรัมย์ การเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างนักการเมืองท้องถิ่นสตรีจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 11 คน ผลการศึกษา พบว่า ภูมิหลัง แรงจูงใจของนักการเมืองท้องถิ่นสตรีจังหวัดบุรีรัมย์ เกิดจากแรงจูงใจสนับสนุนจากปัจจัย 6 ประการ คือ (1) แรงจูงใจจากครอบครัว (2) แรงจูงใจจากฐานะทางเศรษฐกิจ (3) แรงจูงใจจากการมีผลงาน (4) แรงจูงใจที่เกิดจากกลุ่มนักการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ (5) แรงจูงใจจากคนในชุมชน (6) ความสนใจของตนเอง และในส่วนของบทบาทที่โดดเด่นในการบริหารงาน มี 2 ด้าน คือ ด้านคุณภาพชีวิต และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงบทบาทที่เป็นจุดเด่นของนักการเมืองท้องถิ่นสตรีในการบริหารงาน คือ ภาพลักษณ์ และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 2) ปัญหาและอุปสรรคในการเข้าร่วมเวทีการเมือง ประกอบไปด้วย (1) ปัญหาด้านสรีระของร่างกายผู้หญิง (2) ปัญหาภาระครอบครัว (3) ปัญหาคู่แข่งทางการเมือง (4) ปัญหาด้านภาวะผู้นำ (5) ปัญหาด้านค่านิยม วัฒนธรรม และสังคม 3) แนวทางในการพัฒนาบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นสตรีในการบริหารงาน 8 ประการ คือ (1) การมีความรักศรัทธาในบทบาทและความพร้อม (2) การสร้างภาพลักษณ์ที่ดี (3) การพัฒนาศักยภาพของตนเอง (4) การรณรงค์ให้ผู้หญิงมีบทบาททางการเมืองมากยิ่งขึ้น (5) การปรับเปลี่ยนความคิดที่เกี่ยวกับค่านิยมเกี่ยวกับผู้หญิงและการเมืองให้เกิดการยอมรับมากยิ่งขึ้น (6) การใช้จุดเด่นของความเป็นผู้หญิงที่เป็นข้อได้เปรียบในการบริหารงาน (7) การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม และ (8) การเข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชนหรือคนในท้องถิ่นผ่านกิจกรรมต่าง ๆ

Article Details

How to Cite
สิ่วไธสง อ., & แนรอท เ. (2019). ภูมิหลัง แรงจูงใจ และบทบาทของนักการเมืองสตรีท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์. Journal of Politics and Governance, 9(2), 78–92. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/198350
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2560). สรุปข้อมูล อปท ทั่วประเทศ. ค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2561, สืบค้นจาก http://www.dla.go.th/work/abt.
กิตติสันติ์ ทัตตะพันธุ์. (2553). บทบาทของผู้นำสตรีกับการบริหารท้องถิ่น : กรณีศึกษานายกองค์การบริหารส่วนตำบลริมเหนือ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการเมืองและการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กุลิสรา ก้อนจันทร์เทศ. (2558). ปัจจัยส่งเสริมบทบาทสตรีในการเมืองท้องถิ่นกรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.
เครือข่ายกฎหมายมหาชน. (2554). ความไม่เท่าเทียมทางเพศในการบริหารรัฐกิจ. ค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2558 สืบค้นจาก http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=1542.
ชยานันท์ ญาณวารี และคณะ. (2558). กระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองของสตรีในภาคกลาง. วารสารการบริหารท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(4), 94-111.
ณัฏฐ์พิชชา บุญมา. (2551). ผู้นำสตรีกับบทบาททางการเมือง : กรณีศึกษา ในเขตอำเภอพัฒนานิคมจังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ภิญโญ ตันพิทยคุปต์. (2540). บทบาทของสตรีในองค์การบริหารส่วนตำบล ของจังหวัดสงขลา. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
มนัชญา โรจนไพฑูรย์. (2548). การศึกษาวิเคราะห์สถานภาพสตรีที่เป็นผู้นำชุมชน กรณีศึกษาในเขตเทศบาลตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษาเพื่อการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชฎัชเลย.
รุ่งทิวา เขื่อนแก้ว. (2559). สตรีกับการบริหารจัดการด้านการเมืองการปกครองท้องถิ่น กรณีศึกษา : ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารองค์การภาครัฐและเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ฤทัยทิพย์ บุญเปี่ยม. (2555). การก้าวขึ้นเป็นผู้นำท้องถิ่นของสตรี กรณีศึกษาผู้นำสตรีอำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วลีรัตน์ แสงไชย. (2542). บทบาททางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วาสนา ลำดี. (2560). ขบวนผู้หญิงเสนอ “รัฐธรรมนูญที่ดี ต้องมีมิติความเสมอภาคระหว่างเพศ. ค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2561, สืบค้นจาก http://voicelabour.org.
ศิริลักษณ์ เงาคำ. (2554). บทบาทผู้นำสตรีท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลในการพัฒนาท้องถิ่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เศรษฐพร ดูศรีพิทักษ์. (2534). ถ้าอยากเป็นผู้แทน. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2558). รายงานสถานการณ์สตรี ปี 2558 : 2 ทศวรรษปฏิญญาปักกิ่ง: เสริมพลังสตรี สร้างพลังสังคม. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2554). บทบาทสตรีในเวทีการเมือง. สารวุฒิสภา. 19(17), 7 กรกฎาคม.
สำนักส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย. (2552). รายงานประจำปี 2552 สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
อัยภัคน์ เครือจันทร์. (2553). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการส่งเสริมบทบาททางการเมืองท้องถิ่นของผู้บริหารท้องถิ่นสตรีในเขตจังหวัดปราจีนบุรี. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อุดมเดช ดวงแก้ว. (2555). บทบาทผู้นำสตรีในการเมืองการปกครองระดับท้องถิ่นของเทศบาลนครเชียงราย. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองและการปกครอง, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.