ผลกระทบของการฝึกร่วมผสมคอบร้าโกลด์ต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคม จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2549 – 2559
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ผลกระทบของการฝึกคอบร้าโกลด์ที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคมจังหวัดนครราชสีมา (2) ทัศนคติของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่อการฝึกคอบร้าโกลด์ (3) นำผลการศึกษาไปปรับใช้กับโครงการฝึกร่วมผสมคอบร้าโกลด์อย่างเหมาะสม โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ โดยเก็บข้อมูลจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับข้อมูลสัมภาษณ์บุคคลจากหน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชน จำนวน 40 คน ในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ผลการวิจัยพบว่า การฝึกร่วมผสมคอบร้าโกลด์นั้น (1) ส่งผลในด้านบวกต่อสภาพเศรษฐกิจในจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจ โรงแรม ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า สถานบันเทิง บริการรถรับ-ส่ง ร้านขายวัสดุภัณฑ์ และร้านขายของชำ ล้วนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายสินค้าและบริการในห้วงการฝึก ส่งผลให้รัฐมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีของภาคธุรกิจต่างๆเพิ่มขึ้น และส่งผลทั้งในด้านบวกและด้านลบต่อสังคมในจังหวัดนครราชสีมา ด้านบวกคือ ชุมชนใกล้เคียงพื้นที่การฝึกได้รับการพัฒนาและการใช้ประโยชน์ร่วมกัน จากการสร้างถาวรวัตถุให้กับโรงเรียนและชุมชน เพื่อใช้ในกิจกรรมสาธารณะ รวมถึงการจัดกิจกรรมมวลชนสัมพันธ์ได้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอันดีต่อกันระหว่างทหารต่างชาติกับประชาชนในพื้นที่ ในด้านลบคือ เกิดมลภาวะทางเสียงต่อประชาชนที่อาศัยใกล้เคียงกับการฝึกบินของอากาศยานรบในห้วงการฝึก (2) การฝึกที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อชุมชนที่ขาดแคลนทรัพยากร ทำให้เกิดทัศนคติที่ดีจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่อการฝึกคอบร้าโกลด์และเกิดภาพลักษณ์ในด้านดีของทหารทั้งประเทศไทยและต่างชาติ (3) รัฐบาลควรแก้ปัญหาและสนับสนุนการฝึกคอบร้าโกลด์ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ตามความต้องการของประชาชน
Article Details
References
กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรือนทหาร. (2560). การปฏิบัติการร่วม /ผสมทางทหารระดับนานาชาติ. วารสารกองทัพไทย (เสนาสนเทศ), 55(2), 16-17, มกราคม – มีนาคม.
กระทรวงพาณิชย์. ข้อมูลเศรษฐกิจการค้า จังหวัดนครราชสีมา. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2560, สืบค้นจากhttp://www.moc.go.th/index.php/home.html.
กรมสรรพากร. ภาษีมูลค่าเพิ่ม. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2560, สืบค้นจาก http://www.rd.go.th/ publish/7059.0.html.
ข้อมูลสถานศึกษา. (2554). ประวัติจังหวัดนครราชสีมา. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2559, สืบค้นจากhttp://www.nmptc.ac.th/home/.
คม ชัด ลึก. ความจำเป็นของคอบร้าโกลด์15. ค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2559, สืบค้นจาก http://www.komchadluek.net/news/politic/201024.
จุมพล หนิมพานิช. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ( พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฏฐิรา กาญจนศิลป์. (2546). การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2500 – 2540. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาควิชาประวัติศาสตร์. มหาวิทยาศิลปากร.
ไทยรัฐออนไลน์. ไทยร่วมสหรัฐฯฝึกผสมคอบร้าโกลด์ ครั้งที่ 36. ค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2559, สืบค้นจาก https://www.thairath. co.th/content/858385.
ปัญญา ทิ้วสังวาล. (2555). โหมโรง'คอบร้าโกลด์ 2012'รหัสการฝึก HEAVY YEAR.
ค้นเมื่อ 11 กันยายน 2559, สืบค้นจาก http://chaoprayanews.com/blog/article /2012/02/07/.
ประวัติกองบิน 1. (2556). ภารกิจฝึก. ค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2559 สืบค้นจาก http://wing1.rtaf.mi.th/ wing1_2017/about_us.html.
พงษ์ศักดิ์ ปัตถา. (2550). ผลกระทบของฐานทัพสหรัฐอเมริกาต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมของเมืองอุดรธานี พ.ศ.2505-2520. วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ระวี โรจนวงศ์. (2556). การฝึกร่วมผสมคอบร้าโกลด์. วารสารเสนาธิปัตย์, 62(2), มกราคม – มีนาคม.
สุรชาติ บำรุงสุข. (2529). ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ความร่วมมือเพื่อความมั่นคงร่วม และความขัดแย้งในการต่อสู้ทางเศรษฐกิจ.
สุรชาติ บำรุงสุข. (2557). Soft Power. จุลสารความมั่นคงศึกษา, 136-137. สถาบันการข่าวกรอง สำนักข่าวกรองแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สแควร์ ปริ๊นซ์ 93 จำกัด.
สุรพล พรมกุล. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส. พริ้นดิ้ง เฮ้าส์.
สำนักงานสถิติจังหวัดนครราชสีมา. (2559). รายงานสถิติจังหวัด พ.ศ. 2559.สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา. ข้อมูลจังหวัด. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2559, สืบค้นจาก http://pr.prd.go.th/ nakhonratchasima/main.php?filename=sammary.
อำนวย วงษ์พานิช. (2549). การศึกษาผลกระทบทางสังคม อันเนื่องมาจากโครงการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่มีผลต่อประชาชนตามแนววางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ: กรณีศึกษาในพื้นที่ อำเภอพานทอง และอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี.การค้นคว้าแบบอิสระ สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. สัมภาษณ์
กิตติ ตั้งกิจเกียรติ, สัมภาษณ์ เมษายน 2560.
เกษมณี ศรีชมพู, สัมภาษณ์ เมษายน 2560.
พ.ต.ต.โกวิทย์ ศรีพิบูลย์, สัมภาษณ์ เมษายน 2560.
ชนิตา มุ่งประสงค์ธนา, สัมภาษณ์ เมษายน 2560.
ชอบ สร้อยจิตต์, สัมภาษณ์ เมษายน 2560.
ธิวาพร แสนเมืองชิน, สัมภาษณ์ เมษายน 2560.
นิตยา ส้อยกิ่ง, สัมภาษณ์ พฤษภาคม 2560.
น้อม สุขสุด, สัมภาษณ์ เมษายน 2560.
ประทีป ลักษณะพรมราช, สัมภาษณ์ พฤษภาคม 2560.
พิมพ์ชนก วอนขอพร, สัมภาษณ์ พฤษภาคม 2560.
รัชนี วชิรภูชัย, สัมภาษณ์ เมษายน 2560.
วัลลภา ตั้งพยุหะ, สัมภาษณ์ พฤษภาคม 2560.
ร.อ.วิทยา ชาลีรัตน์, สัมภาษณ์ พฤษภาคม 2560.
สมบูรณ์ ชาลีวรรณ, สัมภาษณ์ เมษายน 2560.