ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความฉลาดทางอารมณ์และแรงจูงใจ ของนักกีฬา สถาบันการพลศึกษา ประจำปีการศึกษา 2558
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้น ความฉลาดทางอารมณ์และแรงจูงใจในการแข่งขันกีฬาของนักกีฬาสถาบันพลศึกษา เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์และแรงจูงใจของนักกีฬา สถาบันการพลศึกษากลุ่มตัวอย่าง (Sample) ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักกีฬาของสถาบันการพลศึกษาแห่งประเทศไทย จำนวน 367 คนโดยใช้สูตรของ Taro Yamane โดยการใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นด้วยสถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test independent
ผลการวิจัยพบว่าข้อมูลเบื้องต้น พบว่า ส่วนใหญ่นักกีฬาเป็นหญิง (ร้อยละ 55.9) นักกีฬาชายมีเพียง(ร้อยละ 44.1) มีสถานะการเป็นนักกีฬาสถาบันการพลศึกษาประเภทบุคคล(ร้อยละ 59.7) และประเภททีมร้อยละ 40.3 ซึ่งมีชนิดกีฬาส่วนใหญ่นักกรีฑา( ร้อยละ 20.2) รองลงมานักฟุตบอล ร้อยละ 12.5 นักฟุตซอล( ร้อยละ 9.0 )
ข้อเสนอแนะ
- 1. ควรรับบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ สมรรถนะทางด้านกีฬาเข้าเป็นนักกีฬานั้น
ทางการพลศึกษา ควรมีการทดสอบโดยใช้แบบวัดความดี ความเก่ง ความสุข เพื่อประเมินร่วมด้วยในการคัดเลือกหรือสรรหานักกีฬาอย่างมีคุณค่า เป็นบุคคลสมบูรณ์ ทั้งนี้ควรปรับปรุงแบบวัดให้ได้มาตรฐานและปรับเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด
- 2. นโยบายระดับชาติหรือภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการพัฒนานักกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ โดยการนำวิทยาศาสตร์การกีฬาและเทคโนโลยีการกีฬามาประยุกต์ใช้อย่างจริงจังและจะต้องมีการวางแผนพัฒนานักกีฬาทั้งระยะสั้น และระยะยาว
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การค้าของ สกสค.
ช่อลัดดา ขวัญเมือง. (2542). การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาครุศาสตร์สถาบันราชภัฏกลุ่มภาคเเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. ลพบุรี: สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม.
เทอดศักดิ์ เดชคง. (2547). คุณลักษณะที่เกี่ยวกับอีคิว. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 5(1): 5-14 ; สิงหาคม.
วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2550). การเล่นกีฬาเพื่ออุดมคติของการกีฬา. วารสารสุขศึกษาพลศึกษาและสันทนาการ. 1 (4): 35 ; มกราคม- ตุลาคม.
วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2549). เชาวน์อารมณ์ (EQ) ดัชนีชี้วัดความสุขและความสาเร็จของชีวิต.กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
สุกัญญา ภู่ริยะพันธ์. (2540). การเปรียบเทียบผลของการให้คำปรึกษาเป็นกลุ่มและรายบุคคลตามทฤษฎีเผชิญความจริงที่มีความน้ำใจของนักกีฬาของนนักศึกษาปีที่ 3 กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. วิชาเอกจิตวิทยาการ แนะแนว มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Bekendam, H. (1997). Dennis of Emotional Intelligent : Attachment, Affect Regulation
Alexithymia and Empathy. Dissertation Abstracts International 58 (4):3753-A; December.
Early, J. (1987). Interpersonal Orientation and Motivational Differences between
Team and Individual Sports Participants. Dissertation Abstracts International. 58 (11): 93; Jane.
Gerry, I. (1997). Exploratory Study of the Ways in which Superintendents use Their Emotion Intelligence to Address Conflict in Their Educational Organizations (Leadership). Dissertation Abstracts International. 58(11) : 4137-A ; June.
Tapia, M.L.(1999). A study of the emotion intelligence inventory. Dissertation Abstract International, 56(9), 4389-A
Weisinger. H. (1998). Emotional Intelligent at Work: The Untapped Edge for Success. San Francisco : Jossey – Bass.
Willis. Joe D. (1998) . The Relationships Between Competitive Motives and Ratings of Competitiveness. Doctor’s Thesis Monash : Monash University,
Frederick. C. M. (1991). An investigation of The Relationships Among Participation Motives Level of Level of Participation and Psychological Outcomes in The Domain of Physical Activity. Doctor’s Thesis. Rochester : The University of Rochester.
Sutaso, D.(1998). Gender differences on the emotional intelligence inventory (EQI)(marital status). Doctoral dissertation, 30(3),112.