การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดแผนพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลคำพอุง อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นและข้อเสนอแนะการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาล ตำบลคำพอุง อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ดโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนในเขตเทศบาลตำบลคำพอุง อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 9,101 คน ซึ่งเป็นข้อมูลทะเบียนราษฎร์อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด และใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างจากประชาชนในเขตเทศบาลตำบลคำพอุง อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ดจำนวน 383 คน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมแล้วประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลคำพอุง อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ดในระดับปานกลาง และเมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยเป็นรายด้านแล้ว พบว่าด้านการมีส่วนร่วมในการได้รับผลประโยชน์จากแผนพัฒนามีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลและด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ (ดำเนินการ) ตามลำดับ
Article Details
References
เกศินี พรหมตัน. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา 3 ปี ของเทศบาลตำบลแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชนิการ ฟั้นล้อม. (2550).การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีของเทศบาลตำบลแม่แจ่มอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฐรุจา ตันนารัตน์. (2527). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่น ตำบลโพธิ์ชัยอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. การค้นคว้าแบบอิสระ รป.ม. มหาสารคาม: กรุงเทพฯ.
ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. (2543). การพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐ NGOs และองค์กรประชาชน. คลังนานาวิทยา : ขอนแก่น.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2547). การปกครองท้องถิ่น ตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย. วิญญูชน ;กรุงเทพฯ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7 . กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์
บุญเสริม ศรีทา. ( 2544). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการศึกษาในอำเภอเมือง จังหวัดแพร่. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ :สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ปกรณ์ ปรียากร. (2542). กระทางมหาดไทย: ลักษณะเด่นและข้อจำกัดของหน่วยงานระดับกระทรวงในการบริหารการพัฒนา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
ปนัดดา บรรเลง. (2548). การจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล 5 ปี โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในเทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. 2545 – 2549). การค้นคว้าแบบอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาตร์การเมือง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปรัชญา เวสารัชช์. (2528). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ :สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประทาน คงฤทธิศึกษาการ. (2525). การมีส่วนร่วมในงานสังคมสงเคราะห์ชุมชน. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ยุทธพง์ กันวรรณ์. (2543). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก.