การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2557-2560
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีความมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ว่าเหตุใดแผนพัฒนาจังหวัดในฐานะเครื่องมือในการสร้างความเป็นเอกภาพในเชิงยุทธศาสตร์และการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันของส่วนราชการในระดับพื้นที่จังหวัดจึงไม่ประสบความสำเร็จและเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่แผนพัฒนาจังหวัดกาฬสินธุ์ในฐานะเครื่องมือในการสร้างความเป็นเอกภาพในเชิงยุทธศาสตร์และการบูรณาการ การดำเนินงานร่วมกันของส่วนราชการในระดับพื้นที่จังหวัด โดยศึกษาความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ผู้จัดทำแผนพัฒนาจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ.2557–2560 รวมทั้งสิ้น 163 คน จากจำนวนเจ้าหน้าที่ผู้จัดทำแผนพัฒนาจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ.2557–2560 จำนวน 283 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และความถี่ (Frequency) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. เจ้าหน้าที่ผู้จัดทำแผนพัฒนาจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ.2557-2560 มีความคิดเห็นต่อการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ.2557- 2560 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และรายด้านทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เรียงจากมากไปน้อย 5 ลำดับได้แก่ ด้านระยะเวลาดำเนินการ ด้านการให้ความสำคัญกับแผนทุกระดับ ด้านการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาสังคม ด้านบุคลากร ด้านข้อมูลที่ใช้ประกอบการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด และตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย 2. นอกจากแบบสอบถามแล้ว จากการสัมภาษณ์สาเหตุที่ทำให้แผนพัฒนาจังหวัดไม่ประสบความสำเร็จ เช่น ด้านระยะเวลาดำเนินการ พบว่า ระยะเวลาจำกัด ด้านการให้ความสำคัญกับแผนทุกระดับ พบว่า ควรให้ความสำคัญมากกว่าเดิม เช่น แผนท้องถิ่น ด้านการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาสังคม พบว่า ภาคเอกชน/ประชาสังคม ยังมีบทบาทและมีส่วนร่วมน้อย ด้านบุคลากร พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงหรือโยกย้ายบ่อย ด้านข้อมูลที่ใช้ประกอบการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด พบว่า ยังไม่เป็นปัจจุบัน ด้านตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย พบว่า มีความยากง่ายตามแต่หน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจะได้ใช้เป็นข้อสนเทศที่จะได้ใช้เป็นประโยชน์ในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดในครั้งต่อไป
Article Details
References
ชวลิต อุ่นเจ้าบ้านและคณะ. (2551). ปัญหาการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร.การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. มหาสารคาม : อภิชาติการพิมพ์.
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. (เมษายน 2557). โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต [ออนไลน์]. แหล่งที่มา http://learn.cpru.ac.th/course/category.php?id=19.
รุ่งทิพย์ เหล็กดี. (2550). การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและงบประมาณจังหวัดของสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่7) พ.ศ. 2550.วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สถาบันดำรงราชานุภาพ. (2554). เทคนิคงานแผนพัฒนาจังหวัด.กรุงเทพมหานคร : สถาบันดำรงราชานุภาพ.
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2525).การศึกษาทบทวนเกี่ยวกับการวางแผนพัฒนาจังหวัด.
สำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการจังหวัด. (2552). แผนกับการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด.กรุงเทพมหานคร : บพิธการพิมพ์.
อุดมศักดิ์ เรืองรอง. (2552).กระบวนการประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดน่าน.วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อุทิศ จันทร์ธิราช. (2551). กระบวนการวางแผนและความสามารถในการปฏิบัติตามแผนพัฒนาตำบล ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาขุม อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์.ภาคนิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.อุตรดิตถ์ : มหาวิทยาลันราชภัฏอุตรดิตถ์.
อุไรวรรณ คนใจบุญ. (2554). ปัญหาในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม.การศึกษาค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.