ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทผ้า และเครื่องแต่งกาย ของอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวและเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาของผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ของอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ประสบผลสำเร็จ คือ กลุ่มทอผ้าไหมบ้านตาหยวก หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งหลวง และกลุ่มที่ไม่ประสบผลสำเร็จ คือ กลุ่มทอผ้าไหม หมู่ที่ 13 ตำบลทุ่งหลวง และขอบเขตด้านประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้นำ คณะกรรมการ สมาชิกกลุ่มและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผลจากการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ประสบผลสำเร็จ คือ คณะกรรมการมีความโปร่งใสในการบริหารงาน มีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตัวเองและสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการทอผ้าไหมเป็นอย่างดี โดยมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและสมาชิกทุกคนให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน ซึ่งกลุ่มมีการแสวงหางบประมาณ ช่องทางการตลาดและการประชาสัมพันธ์ช่องทางต่างๆ และนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดการใช้แรงงาน ส่งเสริมให้สมาชิกเข้ารับการฝึกอบรมและไปศึกษาดูงานเพื่อเรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ มาปรับใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ส่วนกลุ่มที่ไม่ประสบผลสำเร็จ คือ คณะกรรมการไม่มีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่และไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งกลุ่มไม่มีการแสวงหางบประมาณ ช่องทางการตลาดและการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ และผลิภัณฑ์ของกลุ่มมีลักษณะเป็นรูปแบบเดิมๆ ไม่มีการพัฒนาลวดลาย ไม่มีการนำเทคนิคนาโนมาใช้และการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า จากการศึกษาพบว่าแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คือ 1. จัดทำแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และแผนการตลาดเพื่อเป็นแนวทางในพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม 2. ประสานหน่วยงานภาคีการพัฒนามาให้ความรู้กับสมาชิกในด้านต่างๆ 3. มีการส่งเสริมการขาย การประชาสัมพันธ์และการเพิ่มช่องทาง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
นิภาภรณ์ จงวุฒิเวศย์, รังสรรค์ สิงหเลิศ และสมสงวน ปัสสาโก. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจชุมชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ.
บุญอนันต์ พินัยทรัพย์. (2549). ชุมชนเข้มแข็ง กระบวนการสร้างสรรค์คืนพลังสู่ชุมชน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์
ราชวิทยาลัย.
ปรัชญา เวสรัชช์. (2546). การประเมินโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ในเขตภาคเหนือ. รายงานผลการวิจัย. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด. (2557). สรุปผลการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์. ร้อยเอ็ด: สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด. สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสุวรรณภูมิ. (2557). สรุปผลการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์. ร้อยเอ็ด: สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสุวรรณภูมิ.