การปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้ห้องเรียน: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างชั้นเรียนขนาดใหญ่ ชั้นเรียนขนาดกลาง และชั้นเรียนขนาดเล็กของ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ปัจจัยและเงื่อนไขที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียนในชั้นเรียนขนาดใหญ่ ชั้นเรียนขนาดกลาง และชั้นเรียนขนาดเล็ก และเพื่อเสนอแนวทางและข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน ในชั้นเรียนขนาดใหญ่ ชั้นเรียนขนาดกลาง และชั้นเรียนขนาดเล็ก ผลการศึกษาพบว่า1) ชั้นเรียนขนาดใหญ่จะประสบกับปัญหาของการเข้าถึงนิสิตในชั้นเรียนอย่างทั่วถึง หัวใจสำคัญจึงอยู่กลวิธีในการเรียนการสอน สื่อการสอน และอุปกรณ์ในการเรียนการสอน ความหลากหลายของการเรียนการสอนจะช่วยดึงความสนใจของนิสิตที่เรียนร่วมกันในชั้นเรียนขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี 2) ชั้นเรียนขนาดใหญ่จะไม่สามารถใช้วิธีการสอนอย่างการพูดคุยแลกเปลี่ยนในชั้นเรียนได้ แบบทดสอบความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่เรียนจึงอยู่ที่การทำแบบสอบถาม ทำการบ้าน และ การค้นคว้านอกห้องเรียน 3) ชั้นเรียนขนาดกลางจะประสบกับปัญหาของการจัดสรรห้องเรียนที่ไม่พอดีกับจำนวนนิสิต ส่งผลให้สภาพแวดล้อมในชั้นเรียนไม่เอื้อต่อการเรียนการสอน สิ่งที่ต้องได้รับการปรับปรุงคือการจัดสรรห้องเรียนให้พอเหมาะกับจำนวนนิสิตในแต่ละรายวิชา ขนาดห้องไม่ควรใหญ่หรือเล็กเกินไปสำหรับจำนวนนิสิต 4) ชั้นเรียนขนาดกลางจะสามารถใช้วิธีการเรียนการสอนอย่างการพูดคุยแลกเปลี่ยนในชั้นเรียนได้ในระดับหนึ่งแต่ไม่มากนัก เพราะฉะนั้นการเปิดโอกาสให้นิสิตได้ออกไปค้นคว้าความรู้นอกห้องเรียนเพื่อทำเป็นรายงานและออกมานำเสนอในชั้นเรียนจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนการสอนของนิสิตในด้านของการมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่เรียนและสามารถประมวลผลออกมาเป็นความรู้ใหม่เพื่อนำเสนอในชั้นเรียนได้เป็นอย่างดี 5) ชั้นเรียนขนาดเล็กเป็นชั้นเรียนที่สามารถตอบสนองรูปแบบการสอนที่หลากหลาย ได้เป็นอย่างดีเพราะมีจำนวนนิสิตน้อยทำให้เข้าถึงกระบวนการเรียนรู้ได้ดีมากกว่าชั้นเรียนขนาดใหญ่และขนาดกลาง เหมาะสมจะใช้เรียนใช้สอนในรายวิชาที่ต้องฝึกให้นิสิตคิดวิเคราะห์ฝึกการนำเสนอ การแสดงความคิดเห็น และการอภิปราย
Article Details
References
ณัฐติยา จตุรนาคากุล. (2549). ประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ: หาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตพระนครเหนือ.
วนิดา ฉัตรวิราคม. (2544). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการสอนวิทยาศาสตร์ (INNOVATIONS AND TECHNOLOGY IN TEACHING SCIENCE). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิเชียร ทิพย์ชุมภู. (2539). การนำเสนอแบบการใช้ห้องเรียนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภวิชญ์ (สนิท) เจริญธรรม. การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนรู้. Retrieved from URL http://netra.lpru.ac.th/~ phaitoon/car๕๕/sp_๐๐๗%๒๐goodResearch.ppt
อรรถวุฒิ ตัญธนาวิทย์. (2544). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.