การจัดทำและการใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อวัดผลการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในจังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดทำบัญชีและการใช้ข้อมูลสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อวัดผลการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือผู้ประกอบการธุรกิจ SME ในจังหวัดพะเยา ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัยแยกตามรูปแบบของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล รวมทั้งสิ้น 321 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 267 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า มีการจัดทำบัญชีด้วยการจ้างสำนักงานบัญชี ร้อยละ 62.91 และกิจการดำเนินการจัดทำบัญชีเองร้อยละ 37.10 ด้านวิธีการบันทึกบัญชี ใช้วิธีการบันทึกบัญชีแบบผสมผสานระหว่างวิธีการบันทึกด้วยมือและการใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 50.50 วิธีบันทึกบัญชีด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี ร้อยละ 13.50 มีการรวบรวมหลักฐานประกอบการบันทึกบัญชี เช่น ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี/ใบค่าใช้จ่าย เป็นต้น รองลงมามีการจัดทำรายงานทางการเงินต่างๆ เช่น งบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะการเงิน เป็นต้น
ร้อยละ 71.9 และไม่จัดทำขั้นตอนนี้ ร้อยละ 28.10 วัตถุประสงค์ในการใช้ข้อมูลสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการลงทุนในอนาคตในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 ใช้ข้อมูลการบัญชีจากงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ได้แก่ รายได้ และค่าใช้จ่าย ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.78 รองลงมาได้แก่ยอดลูกหนี้และยอดเจ้าหนี้มาใช้ในการตัดสินใจ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 งานวิจัยนี้ได้เก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้านการตรวจทานภายหลังการจัดทำบัญชี พบว่า มีการตรวจทานหลังจากการจัดทำบัญชี ร้อยละ 59.60 และส่วนมากไม่มีการจ้างที่ปรึกษาทางการบัญชี คิดเป็นร้อยละ 89.60 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน สามารถนำผลการศึกษามาใช้ในพัฒนาส่งเสริมความรู้ให้ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ให้ความสำคัญถึงประโยชน์ และความคุ้มค่าของการจัดทำบัญชี ของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการให้ธุรกิจมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นและยั่งยืนต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
Belal, Y. Al S. (2013). The use of Accounting Information by Small and Medium Enterprises in South district of Jordan, (An empirical study). Research Journal of Finance and Accounting. 4(6),169-175.
Chanprasit, S. (2016). Preparation of Accounts and Utilization of Accounting Information for Business Planning of Five-Star OTOP Products in Songkhla. Journal of Accountancy and Planning. 8(2),43-52. (in Thai)
Department of Business Development. (2017). Business information registered as a juristic person in Phayao Province. (in Thai).
Department of Business Development. (2019). What to know & do when becoming a Partnership Limited Company, Public Company Limited. (in Thai).
Ferraresi, A. , Quandt, O., Santos, S. & Frega, J.R. (2012). Knowledge management and strategic orientation: leveraging innovativeness and performance. Journal of Knowledge Management, 16, 688-701.
Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1996). Linking the balanced scorecard to strategy. California Management Review, 39 (1), 53–79.
Kanteera, S. & Narumon, K. (2556). A Study of Accounting Problems of Company Partnerships and Company Limited in Chom thong District, Chiang Mai Province. Rajamangala University of Technology Lanna. Chiang Mai.
(in Thai)
Kongviriyakul, A., Nilniyom,P. & Prachsriphum, S. (2019). Effects of the Accounting Information Systems Application Efficiency on Accounting Best Practice of Chemicals Businesses in Thailand. Journal of Accountancy and Management, 10(4), 1–11. (in Thai)
Nakhonpin, N. (2008). Demand of accounting information for management garment industry in Krathum Baen district, Samut Sakhon province. Chiang Mai University. Chiang Mai. (in Thai)
Nakyam, N. (2017). Getting The Accounting and Taxation: the Responsibility of the Entrepreneur. MUT Journal of Business Administration, 14(2),1-20.
Ninplian, Y. (2015). The Study Of Differences Of SME Accounting Entry Under Accounting Standard Of Revenue Code. Master of Business Administration Program. Silpakorn University,Bangkok. (in Thai)
Prejakjit P., & Bosakonnas S. (2021). Causal Factors of Accounting Information Systems Influencing the Quality of Financial Statement of Small and Medium Enterprises in Bangkok. Academic Journal of Mahamakut Buddhist University Roi Et Campus, 10(2), 646–657. (in Thai)
Pumiviset, W. (2017). Accounting and Accounting Information of Entrepreneurship in Accommodation (Hotel Business), Southern border provinces. Songkhla Rajabhat University. Songkhla (in Thai)
Sawatsuk, B. (2020). Guidelines for Accounting Information System Development to Measure the SMEs Performance. International Journal of Innovation, Creativity and Change. 13(8), 872-888.
Sengpanich, U. (2015). Accounting and use of Accounting Information for Management of SMEs in the Northern region. Journal of Modern Management Science. 8(2),101-113. (in Thai)
Srijunpetch, S. (2016). Managing SMEs with Accounting. Journal of Accounting Profession, 12(36). 85-92. (in Thai)
Tirasriwat A. (2012). Accounting Information Problems which are The Obstacles to SMEs Financing. Academic Journal of the Association of Private Higher Education Institutions of Thailand, 8 (2), 186–197. (in Thai)
Uddin, R., Biswas, T., Ali, J., & Khatun, MS. (2017). Accounting Practices of Small and Medium Enterprises in Rangpur, Bangladesh. Journal of Business & Finance, 6(4),1-7. doi: 10.4172/2167-0234.1000299
Wisetsingh, A.. (2013). Accounting of SMEs in the Phasi Charoen, Bangkok. Research report . Suan Sunandha Rajabhat University. (in Thai)