การสร้างสรรค์การสื่อสารในชุมชนเพื่อดำเนินยุทธศาสตร์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมจากการ ใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร ในจังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “การสร้างสรรค์การสื่อสารในชุมชนเพื่อดำเนินยุทธศาสตร์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร ในจังหวัดเลย” นี้ เลือกศึกษาแบบเฉพาะเจาะจงในพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีในการเกษตร ในพื้นที่ 3 แห่งคือต้นน้ำเลย ที่ อ.ภูหลวง กลางน้ำเลยที่ อ.วังสะพุง และ ปลายน้ำเลยที่ อ.เชียงคาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยอย่างมีส่วนร่วม (PAR) ซึ่งมีการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,300 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพที่ใช้เครื่องมือการสังเกตการณ์การประชุมระดมความคิดอย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ การจัดกิจกรรม และการสนนากลุ่ม โดยได้ข้อมูลจากตัวแทนชุมชนทั้งสิ้น 7 หมู่บ้านจากสองอำเภอ จำนวนประมาณ 80 คน มีผลการวิจัยแบ่งเป็น 4 ประเด็นตามวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ 1. รูปแบบการสื่อสารในชุมชนที่เป็นชุมชนเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพในจังหวัดเลยที่สามารถนำมาเพื่อรณรงค์การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร พบว่า กรณีที่เป็นชุมชนไม่เข้มแข็งนั้น ต้องใช้สื่อบุคคลและใช้การสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นหลัก เพราะได้ผลดีกว่าการใช้สื่ออื่นๆในชุมชน 2. แนวทางการสร้างสรรค์และพัฒนารูปแบบการสื่อสารในชุมชน สามารถดำเนินยุทธศาสตร์การสื่อสารเพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรนั้นต้องสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์และการทำแผนแม่บทชุมชนเพื่อกำหนดเส้นทางและเป้าหมายให้มีความชัดเจน 3. แนวทางการสร้างสรรค์และพัฒนารูปแบบการสื่อสารในชุมชน ที่เป็นยุทธศาสตร์การสื่อสารเพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร ทำให้เกิดการสังเคราะห์งานวิจัยจนได้ชุดความรู้ใหม่ เป็นแบบแผนการทำงาน 2 โมเดล คือโมเดลยุทธศาสตร์การระเบิดจากภายในกลุ่มคนที่สนใจ และโมเดลยุทธศาสตร์การสื่อสารแบบเครือข่ายระดับหน่วยงานต่างๆในชุมชนและจังหวัด 4. การสร้างเครือข่ายการสื่อสารในชุมชนที่เหมาะสม ต้องมีการสร้างเครือข่ายที่ผู้นำชุมชนและแกนนำมาช่วยกันเตรียมการไว้ก่อน เช่น การรื้อฟื้นการร่วมงานระหว่างคนในชุมชน นอกจากนี้ พบว่า หากเป็นกรณีเฉพาะที่เป็นกลุ่มชุมชนมีผู้นำที่ขาดความเข้มแข็งและชุมชนยังอ่อนแอ คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้โดยพัฒนาความคิดจากล่างขึ้นบน (Bottom-up Approach) แล้วจึงส่งต่อความคิดนั้นขึ้นไปสู่กลุ่มผู้นำความคิดของชุมชน กรณีเช่นนี้จะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากกว่าการทำงานที่เป็นแบบสั่งการลงมา (Top down Approach) เนื่องจากในชุมชนที่ไม่เข้มแข็งมักจะไม่มีการพาทำงานจากผู้นำชุมชนที่อ่อนแอ จึงทำให้บทบาทการนำพาชุมชนนั้นขึ้นอยู่กับผู้นำตามธรรมชาติ ไม่ใช่ผู้นำตามตำแหน่งราชการ
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
Beti Thompson and Yamile Molina (2016). Strategies To Empower Communities To Reduce Health Disparities Health Aff (Millwood). 2016 Aug 1; 35(8): 1424–1428.
Bureau of Occupational and Environmental Diseases. (2016). Disease caused by pesticides. Retrieved September 28, 2016, from https:// https://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/72.
Chantawanit, S. (1996). Qualitative Research Methodology. Bangkok. Chulalongkorn University Publishing.
Golob MI, Giles AR. (2013) .Challenging and transforming power relations within community-based participation research: the promise of a Foucauldian analysis. Qualitative Research in Sport, Exercise, and Health.;5:356–72.
Intamart, S et al (2008). Assessment of Organophosphate Pesticide Exposure of Chrysanthemum Farmers in That Phanom Sub-district, That Phanom District, Nakhon Phanom Province. Retrieved March 28,2008, from https://www.surdi.su.ac.th /DBG22553.doc.
Kaewthep, K. (2000).Community Communication: Compilation of Knowledge. Bangkok. The Thailand Research Fund.
Kurat, N at al. (2006). The process of promoting the use of bio-fertilizers for community outreach: Group of Budha Kaset-insee, Bansai District, Amphoe Prakhonchai, Bureerum Province. (Research Report). The Thailand Research Fund.
Oknation Blog.(2011). Quantitative of Pesticide Import. Retrieved September 28, 2016, from https://oknation.nationtv.tv/ blog/Sp-Report/2011/09/07/entry-7.
Pongsapit, A.(1988). Society and Culture. Bangkok. Chulalongkorn University Publishing.
Rogers, E. M., & Kincaid, L. (1981). Communication networks toward a New paradigm for research. New York: The Free Press.
Sanyawiwat,S. (2007). Community Development. Bangkok. Chulalongkorn University Publishing.
Thintip, K. (2016). Annual Epidemiology Surveillance Report 2016. Retrieved September 24, 2017, from https:// https://www.boe.moph.go.th/Annual/AESR2015/aesr2558/ Part%201/09 /pesticide.pdf.
Treechai, P. (2009). Analysis of strong community of Nongklangdong Village Silaloi District Amphoe Samroiyod Prachuap Khiri Khan Province. Doctor of Public Administration. Krirk University.
Wannaudom, P.(2018).The Development of Communication from the community to the community to quit the use of chemicals for agriculture in Loei Province. (Research Report). National Research Council of Thailand.
World Health Organization (2009). Community empowerment. 7th Global Conference on Health Promotion. Retrieved 4 March 2017, from website: https://www.who.int/healthpromotion/ conferences/7gchp/track1/en/.