แนวทางการบริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดกำแพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุ 2) เปรียบเทียบปัญหาการบริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุ จำแนกตามจำนวนปีที่ตั้งชมรมและจำนวนสมาชิก และ 3) ค้นหาแนวทางการบริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุจังหวัดกำแพงเพชร โดยขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการบริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุ เก็บข้อมูลระดับชมรม จำนวนทั้งสิ้น 86 ชมรม จากประธานหรือคณะกรรมการบริหารชมรมผู้สูงอายุ สำหรับปัญหาการบริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุ เก็บข้อมูลจากกรรมการและสมาชิกชมรมผู้สูงอายุจำนวน 397 คน โดยการใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ขั้นตอนที่ 2 การค้นหาแนวทางการบริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุ โดยการนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มาประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการได้แก่ ผู้ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับผู้สูงอายุในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ประธานหรือกรรมการชมรมผู้สูงอายุ นักวิชาการ รวมทั้งสิ้นจำนวน 40 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารชมรมผู้สูงอายุนั้น คณะกรรมการมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกหรือการได้รับการยอมรับจากสมาชิกเป็นส่วนใหญ่ สมาชิกจบการศึกษาประถมศึกษาตอนปลายหรือต่ำกว่า สมาชิกเห็นความสำคัญของการเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ แต่สมาชิกมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุต่ำกว่าเรื่องอื่น ๆ มีเพียงครึ่งหนึ่งของชมรมผู้สูงอายุที่มีการตั้งกฎระเบียบข้อบังคับเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน ส่วนใหญ่ไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายในการเข้าเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ งบประมาณในการดำเนินกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุได้รับจัดสรรงบประมาณองค์กร/หน่วยงานต่าง ๆ โดยจัดกิจกรรมด้านสุขภาพมากที่สุด สำหรับปัญหาการบริหารชมรมผู้สูงอายุ ในภาพรวมและรายด้านมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบปัญหาการบริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุ จำแนกตามจำนวนปีที่ตั้งชมรม และจำนวนสมาชิก พบว่า ในภาพรวมมีปัญหาการบริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุไม่แตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยแนวทางการบริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุที่สำคัญและประสบความสำเร็จได้แก่ การมีคณะกรรมการหรือผู้นำชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็ง และเสียสละ สมาชิกมีความรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งชมรมและเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ การจัดกิจกรรมชมรมมีการวางแผนการบูรณาการความร่วมมือกับเครือข่ายต่าง ๆ กิจกรรมชมรมต้องสามารถแก้ปัญหา หรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตของสมาชิก
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
Association Branch Council of Thailand, Department of Social Development and Welfare. (2010). Elderly
Club Manual. Bangkok : The Branch Association of the Council of Elders of Thailand on Raja Shu
Papham of Princess Srinagarindra.
Committee of the National Elderly, Ministry of Social Development and Human Security. (2010). The
National Elderly Plan, (2009) ). Bangkok : Thepphenwanich.
Faculty of Management Science. (2017). The Performance of the Kamphaeng Phet Elderly Club
Development Project. Kamphaengphet : Faculty of Management Science Kamphaeng Phet
Rajabhat University.
Kamsuwan, C. (2007). The Management of the Elderly Club of Songkhla Hospital, Amphoe Mueng,
Songkha Province. Master of Arts Program in Thai Studies, Thaksin University. Songkha.
Kannasoot, P. (1999). Behavioral of Science Research. Bangkok : Chulalongkorn University.
Ketthanang, S. (2007). Aging Participation in Elderly Club Whose Passed the Evaluation Criteria on
Strengthen Elderly Club, Nakhonratchasima Province. Master of Publice Health, Major in Family
Health, Mahidol University. Bangkok.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Educational and Psychological Measurement. Minnesota : Minnesota
University.
National Economic & Social Development Council, (2013). Estimated Population of Thailand 2010-2040.
Bangkok : October.
Pansit, P. (2010). A Model and Operation of Senior Citizen Clubs In Amphuer Pakphayoon, Changwat
Phattalung. Master of Education in Community Development Education, Prince of Songkla
University. Songkla.
Petsing, N. (2014). Development of the Operational of Elderly Club in Donsaithong Village Kaedam District
Mahasarakham Province by the Application of a Participatory Planning process. Master of Public
Health, Major Health System Management, Mahasarakham University. Mahasarakham.
Pradsripoom, R. (2010). Elderly Clubs Potentiality Development by Community Coalition Action in
Khong Yang Subdistric, Sung Noen District, Nakhon Ratchaima Province. Master of Public
Health in Community Health Development, Nakhon Ratchasima Rajabhat University. Nakhon
Ratchasima.
Prathadi, P. (2013). Elderly Club). [Online]. Retrieved January 15, 2560, from: https://hp.anamai.moph.go.th/
download/elder/Meeting 10_13 Dec.2556/12 Dec.2556/6.
Provincial Administrative Office of Kamphaeng Phet. (2018). Data of aged in of Kamphaeng Phet Province.
Kamphaeng Phet : Provincial Administrative Office of Kamphaeng Phet. (Copied Documents).
Rachasri, C. (2014). Factors Related to the Operation of Senior Clubs in Nakhon Si Thammarat Province.
Master of Public Health School of Health Science, Sukhothai Thammathirat Open University.
Nonthaburi.
Samakkantai, T. (2008). The Factor Related to the Performance of the Uthai Thani. Master of Public
Health Program (Public Health Administration), Sukhothai Thammathirat Open University. Nonthaburi.
Siripanit, B. (1999). Elderly in Thailand. Bangkok : Association Branch Council of Thailand.
United Nations. (2017). World Population Prospects: The 2017 Revision. New York : United Nations.
Yodphet, S., et al. (2010). Operation and Activities of the Elderly Club. Bangkok : Jay.