การท่องเที่ยวและการกระจายรายได้ของจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ปวีณา ลี้ตระกูล

บทคัดย่อ

 การศึกษาเรื่องการท่องเที่ยวและการกระจายรายได้ของจังหวัดเชียงรายมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาการกระจายรายได้และปัจจัยที่มีผลการกระจายรายได้ที่เกิดจากการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย โดยวิธีที่ใช้ในการวิจัยสำหรับการวิเคราะห์อิทธิพลของท่องเที่ยวที่มีต่อการกระจายรายได้ของการศึกษาที่ใช้ดัชนีชี้วัดความไม่เท่าเทียมกันด้านรายได้ คือ Gini coefficient และดัชนีกลุ่ม Genneralized Entropy ร่วมกับวิธีการจำแนกองค์ประกอบความไม่เท่าเทียวกันของรายได้ ( Decomposition of income inequality ) โดยใช้ 2 วิธีได้แก่ (1) จำแนกตามแหล่งที่มาของรายได้ (Source income ) และ (2) การจำแนกองค์ประกอบความไม่เท่าเทียมกันด้วยสมการถดถอย ( Regression-based inequality decomposition ) ผลการวิจัยศึกษาพบว่า การกระจายรายได้ที่เกิดจากการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย เมื่อพิจารณา จากค่าดัชนีความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้ของครัวเรืองพบว่าครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ศักยภาพในการท่องเที่ยวสูงมีความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้มากที่สุด ในขณะที่ครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ศักยภาพทางการท่องเที่ยวต่ำมีความไม่เท่าเทียมกันของรายได้น้อยที่สุด และเมื่อพิจารณาจากองค์ประกอบความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้ตามแหล่งที่มาของรายได้ พบว่า แหล่งรายได้ที่เกิดจากการท่องเที่ยว มีการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันสูงกว่าแหล่งรายได้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และการเปลี่ยนแปลงของแหล่งรายได้นี้สามารถส่งผลให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันของรายได้รวม โดยหากรายได้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะมีผลทำให้ค่า Gini ของรายได้รวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.0451 ในส่วนของปัจจัยที่มีผลต่อการกระจายรายได้ที่เกิดจากแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย พบว่า ลักษณะโครงสร้างทางประชากรของครัวเรือน ( ระดับการศึกษาเฉลี่ยของครัวเรือน อัตราการมีงานทำของสมาชิกครัวเรือน และอัตราการพึ่งพิงของสมาชิกครัวเรือน ) และการประกอบอาชีพด้านการท่องเที่ยวของครัวเรือน (ครัวเรือนประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรม และสัดส่วนของสมาชิกครัวเรือนที่ประกอบอาชีพด้านการท่องเที่ยว ) มีอิทธิพลต่อความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้ โดยคิดเป็นร้อยละ 16.66 และ 5.30 ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
ลี้ตระกูล ป. (2018). การท่องเที่ยวและการกระจายรายได้ของจังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 6(2), 91–116. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmscrru/article/view/127334
บท
บทความวิจัย
Author Biography

ปวีณา ลี้ตระกูล

* เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2549) ปัจจุบันเป็ นอาจารย์ประจำโปรแกรม เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะวิทยาการ-จัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

References

พรพิมล ลาภยงยศ (2541). การกระจายรายได้ที่เกิดจากการท่องเที่ยวสู่ท้องถิน : กรณีศึกษาเกาะช้าง กิ่ งอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโทวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาดและคณะ (2549). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการที่ยั่งยืนในลุ่มน้ำโขง. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บุญเสริม ทวีชาติ (2546). การศึกษาการกระจายรายได้และสาเหตุความไม่เท่าเทียมกันของ รายได้ของครัวเรือนชนบท : กรณีศึกษา จังหวัดชัยภมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วชิราพร เกิดสุข และคณะ (2546) . บทบาทของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมาที่มีต่อการจ้างงาน. แหล่งที่มา http://home.kku.ac.th/uac/journal/year%20_11_4_2546/10_11_4_2546.pdf สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). สัมประสิทธิ์ความ ไม่เสมอภาค (Gini coefficient) ของรายได้ จำแนกตามภาค และจำแนกตามเขตพื้นที่ ปี พ.ศ. 2531– 2552 (Online). Available: http://social.nesdb.go.th/social/Default. aspx?tabid=131 Alisjahbana, A., Yusuf A., Chotib, Yasin M. and T. B. Soeprobo. (2003). Understanding the determinants and consequences of income inequality in Indonesia. EADN Regional Project on Income Distribution and Sustainable Development: The East Asian Experience. Brewer, M., Muriel, A. and L. Wren-Lewis. (2009). Accounting for changes in inequality since 1968: decomposition analyses for Great Britain. Government Equalities Office. Eugenio Yunis (2004). Sustainable Tourism And Poverty Alleviation. (Online). Available : http://www.tanzaniagateway.org/docs/sustainable_tourism_and_poverty_ alleviation.pdf Gunatilaka, R. and D. Chotikapanich. (2009). Accounting for Sri Lanka’s expenditure inequality 1980-2002: regression-based decomposition approaches. Review of Income and Wealth. 55, pp.882-906. Lee, C. and S. Kang. (1998). Measuring earnings inequality and median earnings in the tourism industry. Tourism Management. Vol 19 No.4 pp. 341 – 348 Litchfield, J. A. (1999). Inequality: Method and Tools. (Online) Available: http:// siteresources.worldbank.org/INTPGI/Resources/Inequality/litchfie.pdf Men Prachvuthy (2005) Poverty and Tourism: Income Distribution The Case of Chambok Community-Based Ecotourism Development, Kirirom National Park, Kompong Province, Cambodia(Online). Available: http://www. rockmekong.org/events/html_file/socialResearchCHM/files/Vuthy.pdf Lopez-Feldman A. (2006) Decomposing inequality and obtaining marginal effects. The Stata Journal. 6, Number 1, pp. 106–111 Stark O., Taylor J. E. and S. Yitzhaki. (1986). Remittances and Inequality. Economic Journal. vol. 96(383), pages 722-40, September. World Bank (2005) Introduction to poverty analysis. (Online). Available: http://siteresources.worldbank.org/PGLP/Resources/PovertyManual.pdf