การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนโลจิสติกส์ในโซ่อุปทาน ของโรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดและโรงงานผลิตน้ำแร่บรรจุขวด

Main Article Content

ณัฐภร เจริญชีวะกุล
แสงจันทร์ กันตะบุตร
พรวศิน ศิริสวัสดิ์

บทคัดย่อ

 การศึกษามีจุดประสงค์เพื่อศึกษาโซ่อุปทานของโรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดและโรงงานผลิตน้ำแร่บรรจุขวดและเพื่อศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนโลจิสติกส์ในโซ่อุปทานของโรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดและโรงงานผลิตน้ำแร่บรรจุขวดในจังหวัดเชียงราย ทำการศึกษาโดยสังเกตการปฏิบัติงานในทุกกระบวนการในสถานที่จริงและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารและพนักงานที่มีความชำนาญโรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด มีบุคลากรเป็น ผู้บริหาร 1 คน และพนักงาน 6 คน และโรงงานผลิตน้ำแร่บรรจุขวด มีบุคลากรเป็น ผู้บริหาร 2 คน และพนักงาน 7 คน ผลการศึกษา คือ โรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดทำการผลิต 93,600 ขวดต่อเดือน มีต้นทุนรวม 280,706 บาทต่อเดือน มีต้นทุนเฉลี่ย 2.99 บาทต่อขวด มีต้นทุนโลจิสติกส์ 88,508.28 บาทต่อเดือน เป็นอัตราส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อต้นทุนรวม ร้อยละ 31.53 ของต้นทุนรวม ต้นทุนกิจกรรมการบรรจุภัณฑ์เป็นต้นทุนที่สูงที่สุดของโรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด เป็นเงิน 0.54 บาทต่อขวด รองลงมาคือต้นทุนกิจกรรมการขนส่งเป็นเงิน 0.25 บาทต่อขวด โรงงานผลิตน้ำแร่บรรจุขวดทำการผลิต 144,000 ขวดต่อเดือน มีต้นทุนรวม 462,720 บาทต่อเดือน มีต้นทุนเฉลี่ย 3.21 บาทต่อขวดมีต้นทุนโลจิสติกส์ 69,572.27 บาทต่อเดือน เป็นอัตราส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อต้นทุนรวมร้อยละ 15.04 ของต้นทุนรวม ต้นทุนกิจกรรมการบรรจุภัณฑ์เป็นต้นทุนที่สูงที่สุดของโรงงานผลิตน้ำแร่บรรจุขวด เป็นเงิน 0.209 บาทต่อขวด รองลงมาคือต้นทุนกิจกรรมการขนส่งเป็นเงิน 0.191 บาทต่อขวด ทั้ง 2 โรงงานล้วนมีลักษณะของโซ่อุปทานที่คล้ายกัน โดยมีต้นทุนกิจกรรมการบรรจุภัณฑ์สูงที่สุด และต้นทุนกิจกรรมการขนส่งรองลงมา จากผลการวิจัยพบว่าต้นทุนรวมของโรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดต่ำกว่าต้นทุนรวมของโรงงานผลิตน้ำแร่บรรจุขวด แต่ในทางตรงกันข้ามต้นทุนโลจิสติกส์รวมของโรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดกลับสูงกว่าของโรงงานผลิตน้ำแร่บรรจุขวดและต้นทุนโลจิสติกส์เฉลี่ยต่อขวดของโรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดสูงกว่าโรงงานผลิตน้ำแร่บรรจุขวด

Article Details

How to Cite
เจริญชีวะกุล ณ., กันตะบุตร แ., & ศิริสวัสดิ์ พ. (2018). การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนโลจิสติกส์ในโซ่อุปทาน ของโรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดและโรงงานผลิตน้ำแร่บรรจุขวด. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 10(1), 66–92. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmscrru/article/view/125833
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ณัฐภร เจริญชีวะกุล

*นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (2557)

แสงจันทร์ กันตะบุตร

** บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาธุรกิจระหวางประเทศ ่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (2550) ปัจจุบันเป็น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

พรวศิน ศิริสวัสดิ์

*** บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน สำนักวิชาการจัดการ
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (2553) ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

References

กฤษดาวิศวธีรานนท์และกุลพงค์ยูนิพันธ์. (2547)Supply Chain & Logistics: ทฤษฎีตัวอย่างจริง.กรุงเทพ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น) กานติมา อิ่มศรี. (2555). ต้นทุนโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมกุ้งแปรรูป ด้วยระบบต้นทุนฐานกิจกรรม.วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชาคริยา ธาระรูป. (2552). การวิเคราะห์ต้นทุนและการลดต้นทุนโลจิสติกส์ กรณีศึกษาบริษัทกาวอุตสาหกรรม. การศึกษาอิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาโลจิสติกส์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี ชุติระ ระบอบ. (2553). การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. สมุทรปราการ : โครงการสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. ตลาดวิเคราะห์. (2554). สิงห์จุดชนวนโชว์ความเก๋าเปิดไลน์สินค้าใหม่เขย่าวงการน้ำแร่. ฉบับวันที่ 16-30 กนยายน.2554.ค้นเมื่อ 4 เมษายน 2556,จาก http://www.taladvikrao.com/305news/talad02.html ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์.(2554). การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน.กรุงเทพฯ:เอ็กซเปอร์เน็ท. ปิยาภรณ์ อาสาทรงธรรม. (2553).การบริหารต้นทุนโลจิสติกส์กับผู้ประกอบการ SMEs : The Logistics Cost Management with SME Entrepreneurs. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พรพิมล เอี่ยมสำอางค์. ( 2551). ศึกษาการลดต้นทุนโลจิสติกส์ โดยการปรับปรุงระบบการจัดส่งสินค้า กรณีศึกษาโรงงานผลิตกระดาษ. การศึกษาอิสระอุตสาหกรรมหาบัณฑิต ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ รุธิร์ พนมยงค์และคณะ. ( 2549). การวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์แบบ ABC, ศูนย์ส่งเสริมธุรกิจในประเทศไทยของเจโทร,กรุงเทพฯ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย.(2554).น้ำดื่มบรรจขวดปี ’54: เติบโตร้อยละ 15…ท่ามกลางสภาพอากาศ ุ ไม่เอื้ออำนวย. ปี ที่17. ฉบับที่3089 James R. Stock and Douglas M. Lambert. (2001). Strategic Logistics Management. McGraw-Hill Higher Education