การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโรงงานผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

รัชประภา พลรักษา
พิษณุวัฒน์ ทวีวัฒน์

บทคัดย่อ

การศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจสภาพแวดล้อมทางด้านตลาดและศึกษาข้อมูลทางด้านเทคนิคของการลงทุนตั้งโรงงานผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ในจังหวัดร้อยเอ็ด (2) วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางด้านการเงินและทดสอบความสามารถในการรับความเปลี่ยนแปลงของการลงทุนโรงงานผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด การศึกษาใช้ข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการสังเกตแบบมีส่วนร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก และใช้ข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากการรวบรวมจากหนังสือ เอกสารรายงานวิจัย เอกสารทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องตลอดจนการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาใช้วิเคราะห์เชิงพรรณนาและเชิงปริมาณ เครื่องมือทางการเงินที่ใช้ได้แก่ ต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก, มูลค่าปัจจุบันสุทธิ, ดัชนีกำไร, อัตราผลตอบแทนภายในอัตราผลตอบแทนภายในที่มีการปรับค่าแล้ว และการทดสอบค่าความแปรเปลี่ยน


            ผลการศึกษาพบว่าในจังหวัดร้อยเอ็ดมีความต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าว ประมาณ 62,000 ตันต่อปี แบ่งเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวร้อยละ 30 พันธุ์ข้าวเจ้าร้อยละ 70 เป็นพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ร้อยละ 60 ของข้าวเจ้า  แต่เมล็ดพันธุ์ข้าวในพื้นที่มีเพียง 8,000 ตันต่อปี ทำให้ขาดแคลนเมล็ดข้าวขาวมะลิ 105 ประมาณ 22,680 ตันต่อปี จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะสร้างโรงงานผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว กำลังการผลิตที่เหมาะสม ของโรงงานควรอยู่ที่ 14,400 ตัน ใช้พื้นที่ ของโครงการเพื่อสร้างโรงงานและแปลงขยายพันธุ์ข้าว 432 ไร่ พื้นที่ขยายของเกษตรกรลูกไร่ 18,000 ไร่ เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตเป็นเป็นเครื่องปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ของ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม จำกัด เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ที่ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ มีกำลังการผลิตที่ 4 ตันต่อชั่วโมง ผลการศึกษาทางด้านการเงิน พบว่าที่อายุโครงการ 10 ปี รายได้ที่คาดว่าจะได้รับ 121,420,800 บาทต่อปี ต้นทุนการจัดตั้งโรงงานเป็นเงินทั้งสิ้น384,108,269 บาทและต้นทุนในการดำเนินงาน 41,950,702 บาทต่อปี อัตราคิดลดที่ 8.94. โครงการมีความคุ้มค่าในการลงทุนเพราะมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ เท่ากับ 135,919,213 บาท ดัชนีกำไร 1.33  อัตราผลตอบแทนภายในเท่ากับร้อยละ 14.48 อัตราอัตราผลตอบแทนภายในที่มีการปรับค่าแล้ว เท่ากับร้อยละ 12.23 การทดสอบค่าความแปรเปลี่ยนพบว่าผลตอบแทนลดลงได้มากที่สุดเท่ากับร้อยละ 26.63  ต้นทุนในการดำเนินงานสามารถเพิ่ม ได้มากที่สุดเท่ากับร้อยละ 40.00  ต้นทุนในการลงทุนสามารถเพิ่มขึ้นได้มากที่สุดร้อยละ  32.67  และต้นทุนรวมสามารถเพิ่มขึ้นได้มากที่สุดร้อยละ 21.78 สรุปโครงการคุ้มค่าต่อการลงทุนและมีความเสี่ยงต่ำ

Article Details

How to Cite
พลรักษา ร., & ทวีวัฒน์ พ. (2018). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโรงงานผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(1), 68–80. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmscrru/article/view/122719
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

รัชประภา พลรักษา

นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ธุรกิจการเกษตร) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา (2559)

พิษณุวัฒน์ ทวีวัฒน์

D.A. (Econ) University of Miami, Florida State U.S.A (1974) ปัจจุบันเป็น อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

References

กรมการข้าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2558 สถานการณ์การค้าข้าวของโลก (Online). www.ricethailand.go.th/home/images/rice_situation/56.../june_57.pdf, 25 ธันวาคม 2557.

กลุ่มพัฒนาและขยายเมล็ดพันธุ์พืช. 2550-2555. สรุปผลผลิตเมล็ดพันธุ์ ปี 2550 ถึงปี 2555.สำนักเมล็ดพันธุ์ข้าว กรมการข้าว.

กลุ่มข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. ม.ป.ป. ประวัติความเป็นมาของข้าวหอมมะลิจังหวัดร้อยเอ็ด (Online). www.roiet.go.th/hommali1o1/pawat.html, 18 มกราคม 2558.

_______. ม.ป.ป. พื้นที่ปลูกข้าวเหนียวและข้าวเจ้า ผลผลิตทางการเกษตร ด้านเกษตร จังหวัดร้อยเอ็ด (Online). https://www.roiet.go.th/101/index.php?option= com_content&view=article&id=327&Itemid=314, 25 ธันวาคม 2557.

จุไร ทัพวงษ์, วิชญะ นาครักษ์, วิโรจน์ นรารักษ์, สมศักดิ์ มีทรัพย์หลาก, สุภาสินี ตันติศรีสุข. 2555. การวิเคราะห์โครงการและแผน (Project and Program Analysis). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์.

เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์. 2555. การเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชูชีพ พิพัฒศิถิ. 2554. เศรษฐศาสตร์การวิเคราะห์โครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า. 2556. สัดส่วนพื้นที่การปลูกข้าวหอมมะลิไทย การผลิตข้าวหอมมะลิไทย (Online). https://www.afet.or.th/2013/th/products/BHMR/statistic.php, 29 กันยายน 2559.

ประสิทธิ์ ตงยิ่งเจริญ. 2542. การวางแผนและการวิเคราะห์โครงการ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ด ยูเคชั่น.

มูลนิธิขวัญข้าว. ความสำคัญของข้าว (Online). https://www.khaokwan.org/improving.html, 18 ธันวาคม 2557.

เริงรัก จำปาเงิน. 2544. การจัดการการเงิน. กรุงเทพฯ: บุ๊คเน็ท.

วิลาศ วิชญะเดชา. 2556. การเสวนางาน “เมล็ดพันธุ์ดี วิถีสหกรณ์” ณ โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ท จ.ปทุมธานี (Online). www.cpf.go.th>cpd>download>data56, 15 พฤษภาคม 2558.

วิไลภรณ์ ชนกนำชัย. การปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105. กรมส่งเสริมการเกษตร เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดย: สำนักส่งเริมและอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศูนย์บริการฉายรังสีแกรมมาและวิจัยนิวเคลียร์เทคโนโลยี, ม.ป.ป. ข้าวพันธุ์ขาวมะลิ 105 (Online). https://www.sci.ku.ac.th/Gamma/database/rice/rice15-story.html, 20 เมษายน 2558.

ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์,ม.ป.ป. กรมการข้าวจังหวัดสุรินทร์ กรมการข้าว. ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ (Online). https://srn.brrd.in.th/web/index.php/2009-09-23-11-01-12/153-khmtk, 30 กันยายน 2558.

สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย. 2557. ข้อมูลการส่งออกข้าว (Online) https://www.thairiceexporters.or.th/Local%20news/News_2014/news_170914-1.html, 1 กรกฎาคม 2558.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2557. ข้อมูลผลผลิตข้าว สถิติข้าวประเทศไทย (Online). www.srn.rrc.ricethailand.go.th, 20 เมษายน 2558.

Louis J. G. and Ralph L.N.Love. 1980. Project Planning and Management: An Integrated Approach. New York: Pergamon Press.