วัฒนธรรมการสื่อสารทางกายของต่างชาติเพื่อเป็นแนวทางในงานบริการ

Main Article Content

วิสาขา วัฒนปกรณ์
รจิต คงหาญ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการแข่งขันทางด้านการบริการมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ในด้านโครงสร้างสังคม การเติบโตภาคธุรกิจ ทำให้ลูกค้ามีพลังในการต่อรองดีขึ้น การไหลของวัฒนธรรมจึงเกิดขึ้นได้ง่าย เราจะพบสิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยคนหลายชาติหลายภาษามากขึ้นจนแทบหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ให้บริการจึงจำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องความแตกต่างด้านวัฒนธรรมไว้เป็นอย่างดีซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งที่มีผลต่อการพึงพอใจของลูกค้า พฤติกรรมบางอย่างของคนแต่ละชาติอาจตีความหมายได้แตกต่างกัน เช่น บางวัฒนธรรมใช้กิริยาท่าทางแบบเดียวกันแต่สื่อความหมายต่างกัน บางครั้งในความหมายอย่างเดียวกันแต่ละวัฒนธรรมใช้กิริยาท่าทางต่างกันเพื่อสื่อความหมาย บางครั้งกิริยาท่าทางเดียวกันแต่ถูกนำมาใช้ทำหน้าที่ต่างกัน หรืออาจจะกิริยาท่าทางเดียวกันที่ใช้สื่อความหมายเดียวกันแต่มีการรับรู้ระดับการแสดงออกที่เหมาะสมต่างกัน การเคลื่อนไหวร่างกายบางอย่างมีระดับต่างๆกัน การแสดงกิริยาต่างๆเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันของคนในวัฒนธรรมเดียวกันอาจแปรเปลี่ยนตามเวลาและตามระดับความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง และข้อห้ามต่างๆในการสื่อสารกับบุคคลต่างวัฒนธรรม เป็นต้น แต่ละวัฒนธรรมให้คุณค่าแก่การแสดงออกอย่างเต็มที่แตกต่างกัน ดังนั้นการศึกษาความแตกต่างด้านวัฒนธรรมจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนทางด้านอุตสาหกรรมการบริการ ต้องรู้จักที่จะบริหารธุรกิจบริการในวัฒนธรรมที่หลากหลาย โดยทำความเข้าใจวัฒนธรรมตนเองแล้วเรียนรู้วัฒนธรรมของผู้อื่นเพื่อตอบสนองลูกค้าในระดับนานาชาติ และสามารถรักษาลูกค้าเดิมไว้ได้อย่างยาวนาน ลดความขัดแย้งและพัฒนาธุรกิจบริการให้ก้าวสู่ตลาดโลกได้เป็นอย่างดี

Article Details

How to Cite
วัฒนปกรณ์ ว., & คงหาญ ร. (2018). วัฒนธรรมการสื่อสารทางกายของต่างชาติเพื่อเป็นแนวทางในงานบริการ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(2), 213–224. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmscrru/article/view/122377
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วิสาขา วัฒนปกรณ์

MA, Human Behavior, National University U.S.A., (1996). ปัจจุบันเป็น อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

รจิต คงหาญ

บริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.ม,) การจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยศิลปากร (2558). ปัจจุบันเป็น อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

References

กฤษติกา คงสมพงษ์. (2552). บริหารการตลาดในพหุวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ.

จิตตินันท์ นันทไพบูลย์. (2551). จิตวิทยาการบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

พรรณปพร จันทร์ฉาย. (2556). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา การบริหารวัฒนธรรมข้ามชาติ. โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

เมตตา วิวัฒนากูล . (2548). การสื่อสารต่างวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: บริษัท แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด.

วรรจณา ภูพดี . (2554). วัฒนธรรมกับพฤติกรรมผู้บริโภค.แหล่งที่มา www.slideshare.netสืบค้นเมื่อวันที่ 10 ม.ค.2558

วีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2543). คุณภาพในงานบริการ 1.กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น)

ศุภลักษณ์ อัครางกูล. (2547). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: หจก. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยาขอนแก่น.

สุรางค์ จันทวานิช,(2550). บทสรุปโครงการวิจัยพหุลักษณ์ในสังคมไทย. แหล่งที่มาwww.academia.eduสืบค้นเมื่อวันที่ 6 ก.พ.2558

Cullen, J.B. and K.P. Parboteeah. 2008. Multinational Management: A Strategic Approach. South Western Publisher, USA.
Cavusgil, T., G. Knight and J. Riesenberger. 2008. International Business: Strategy, Management, and the New Realities. Prentice Publisher, New Jersey.

Dyne, L.; Ang, S.; & Livermore, D. (2009). Cultural Intelligence: A Pathway for Leading in a Rapidly Globalizing World. Leadership across differences: Cases and perspective. San Francisco.

Hofstede, G. 1984. Culture’s Consequences: International Differences in Work-related Values. Sage Publication Inc., London.

Verghese, T; & D’Netto, B. (2011). Cultural Intelligence and Openness: Essential Elements of Effective Global Leadership.