อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ กับการเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
เมื่ออัตลักษณ์ชาติพันธุ์ ถูกทำให้เป็นสินค้าทางวัฒนธรรม เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย การสื่อสารอัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมสินค้าทางวัฒนธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษากระบวนการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ให้เป็นสินค้าทางวัฒนธรรม และเพื่อศึกษากระบวนการทางการตลาดเพื่อส่งเสริมสินค้าทางวัฒนธรรมของหมู่บ้านรวมมิตร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ผู้วิจัยใช้ทัศนะเรื่องทุนวัฒนธรรมของบูร์ดิเยอร์ และแนวทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของกรัมซีเรื่องการครอบงำ (Hegemony) ความเป็นใหญ่ ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์เพื่อเป็นสินค้าต้องผ่าน 4 กระบวนการคือ 1.ทำให้เป็นสินค้า 2.ทำให้เป็นมาตรฐานเดียว 3.มีการผลิตจำนวนมาก และ 4. มีการผลิตซ้ำ ส่วนกระบวนการทางการตลาด มาจาก 3 เงื่อนไข คือ 1. มีการจัดการท่องเที่ยวผ่านการสนับสนุนจากชุมชนภายในหมู่บ้าน 2. มีการจัดการท่องเที่ยวผ่านความเป็นชาติพันธุ์ และ 3.มีการจัดการท่องเที่ยวผ่านศาสนา
จากแนวคิดทุนวัฒนธรรมของบูร์ดิเยอร์ ผลการวิจัยพบว่า ทุนวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งที่เป็นวัตถุ และทุนวัฒนธรรมที่เป็นสมรรถนะของบุคคล เป็นสิ่งที่ถูกแปรรูปให้เป็นสินค้าโดยมีชนชั้นการผลิตทั้งระดับบน และระดับล่าง ตามแนวทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของมาร์กซ์ เข้าครอบงำ ความเป็นใหญ่ และเกิดครอบงำทางอุดมการณ์ของกลุ่มต่าง ๆ ที่มีอำนาจในการสร้างผลประโยชน์ให้กับตัวเองผ่านการควบคุมอำนาจในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในรูปของคณะกรรมการหมู่บ้าน รวมทั้งอัตลักษณ์ของหมู่บ้านรวมมิตรก็ถูกครอบงำโดยอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงอีกชั้นหนึ่ง
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
Bourdieu, P.(1993).The Field of Cultural Production. New York: Columbia University.
Bourdieu, P.and Passeron J.C. (1990 ).Reproduction in Education, Society, and Culture. Sage. London.
Bourdieu, P.(1990 ).The Logic of Practice. Stanford University Press, Stanford.
Bourdieu, P.(2001).Outline of a Theory of Practice. Cambridge University Press, Cambridge.
Gramsci, Antonio.(1971).Selections form the Prison Notebooks. London, Lawrence and Wishsrt.