การพัฒนารูปแบบความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา

Main Article Content

ภาวนา โกมลนาค
บุญสม วราเอกศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) กับชุมชน 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความร่วมมือ 3) วิเคราะห์และพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความร่วมมือ และ 4) ศึกษาแนวทางและวิธีการสร้างความร่วมมือในพื้นที่กรณีศึกษา การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพในจังหวัดเชียงราย  เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง และลำพูน จำนวนตัวอย่างรวม 214 แห่ง  แบบสอบถามมีระดับความเชื่อมั่น 95% วิเคราะห์สถิติโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวน และการถดถอยพหุคูณ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกถูกใช้เก็บข้อมูลในพื้นที่ อบต.เชียงดาว  จ.เชียงใหม่ , เทศบาลตำบลอุโมงค์ จ.ลำพูน และเทศบาลนครลำปาง จ.ลำปาง


ผลการวิจัยพบว่า อปท. 55.15% มีรายได้ 25.00-50.00 ล้านบาท โดยปัจจัยผู้บริหารท้องถิ่นมีความสำคัญระดับมากที่สุด ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่าง อปท. กับชุมชน และตัวแปรย่อยส่วนใหญ่มีความสำคัญระดับมาก  ทรัพยากรในชุมชน คนในชุมชน การเรียนรู้ร่วมกัน ผู้นำชุมชน การประสานงาน สามารถร่วมกันทำนายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่าง อปท. กับชุมชน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ  P<0.01 ส่วนผู้บริหารท้องถิ่น สามารถร่วมกันทำนายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่าง อปท. กับชุมชนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ  P<0.05 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า อบต.เชียงดาว ขาดปัจจัยด้านทรัพยากรองค์กร แต่มีจุดเด่นด้านผู้นำชุมชน และการประสานงาน; เทศบาลตำบลอุโมงค์ มีข้อด้อยในด้านทรัพยากรในชุมชน แต่มีจุดเด่นด้านทรัพยากรองค์กร; เทศบาลนครลำปาง เป็นหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ แต่องค์กรเหล่านี้ต่างก็ประสบความสำเร็จในการจัดการท่องเที่ยว การวิจัยครั้งนี้จึงสรุปว่าผู้นำชุมชน คนในชุมชน ทรัพยากรในชุมชน การประสานงาน การเรียนรู้ร่วมกัน และผู้บริหารท้องถิ่น เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในรูปแบบความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่าง อปท. กับชุมชนในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา  

Article Details

How to Cite
โกมลนาค ภ., & วราเอกศิริ บ. (2018). การพัฒนารูปแบบความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(2), 165–190. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmscrru/article/view/122363
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ภาวนา โกมลนาค

นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ (2558)

บุญสม วราเอกศิริ

Ph.D. (Extension Education)  Universiti Pertanian Malaysia. ตำแหน่งทางวิชาการ รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (ม.ป.ป). มาตรฐานการส่งเสริมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ. กระทรวงมหาดไทย.

คมลักษณ์ สงทิพย์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กรณีศึกษา ตลาดน้ำวัดตะเคียน อำเภอบางกรวย จังหวัดราชบุรี. ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

กิตติศักดิ์ แสงทอง. (2557). รูปแบบความร่วมมือในการจัดการน้ำท่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน : กรณีศึกษาพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากในภาคใต้ของประเทศไทย. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการ จัดการ. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ดวงทิพย์ วิบูลย์ศักดิ์ชัย. (2555). การพัฒนารูปแบบความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม. ปริญญาการศึกษาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดวงสมร ชาญกว้าง และวิฑูรย์ ประเสริฐเจริญสุข. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือกับต่างประเทศของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร. 27(4): 408-414.

ประโยชน์ ส่งกลิ่น. (2558). การจัดการการท่องเที่ยวท้องถิ่น : กรณีศึกษาการจัดการท่องเที่ยว บ้านซะซอม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี. วารสารการเมืองการปกครอง. 5(1) : 105-117.

พิฑูรย์ ทองฉิม. (2558). การจัดการความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะลันตา จังหวัดกระบี่. ปริญญา
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พรนค์พิเชฐ แห่งหน และ อิศรัฏฐ์ รินไธสง. (2557). สภาพและรูปแบบความร่วมมือในการจัดการศึกษานอกระบบระดับอุดมศึกษาระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนเครือข่าย

มหาวิทยาลัยชีวิตพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ. 16 พฤษภาคม 2557 สำนักวิจัยและพัฒนา สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. 5: (179-189).

ยุพดี โสตถิพันธุ์, วิลาวัลย์ จอมทอง และ นงนุช บุญยัง. (2549). กระบวนการความร่วมมือในการปฏิบัติงานระหว่างบุคลากรทีมสุขภาพในการบริการผู้ป่วยผ่าตัดโรงพยาบาลทั่วไปภาคใต้. สงขลานครินทร์เวชสาร. 24(6): 483-491.

วรสุดา สุขารมณ์. (2554). ความร่วมมือระหว่างองค์การในการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย. วารสารมนุษยศาสตร์สาร. 14(1): 169-186.

สันทนา กูลรัตน์, ยุพิน เตชะมณี และสุนันทา วีรกุลเทวัญ. (2556). สภาพความร่วมมือและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างอาจารย์และบรรณารักษ์ในการส่งเสริมการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฎ. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์. 7(2): 28-39

สุทธิพันธ์ พรมมา และมาโนช โลหเตปานนท์. (2555). ความร่วมมือในการขนส่งด้วยรถบรรทุกระหว่างผู้ว่าจ้างขนส่งและผู้ให้บริการขนส่ง. Transportation for a Better Life: Preparing for ASEAN Integration. 5st ATANS Symposium Student Chapter Session. August 24-25, 2012. Bangkok, Thailand.

สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น. (2558). ข้อมูลรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.

Thomson A. M., Perry J. L., & Miller, T. K. (2007). Conceptualizing and Measuring Collaboration . Journal
of Public Administration. 2007(12): 1-34.

Becker, G., Aerts, J., & Huitema D. (2007). Transboundary flood management in the Rhine basin: challenges
for improved cooperation. Water Science Technology. 56(4): 125-35.

Czajkowski, J. M. (2007). Leading Successful Interinstitutional Collaborations Using The Collaboration Success Measurement Model.
Available: https://chairacademy.com/conference/2007/papers/leading_successful_interinstitutional_collaborations.pdf Retrieved: July 12, 2015.

Merriam-Webster’s Collegiate Dictionary. (1966). (2nd ed.). New York: Merriam-Webster.

Winer, M., & Ray, K. (1994). Collaboration Handbook: Creating Sustaining and Enjoying the Journey.Minnesota: Amherst H. Wilder Foundation.

Miller, R. (2009). Cooperation, Coordination and Connection: Evaluating the Effectiveness of Intersectoral Collaboration through the Lens of Stormwater Management. Open Access Senior Honors Thesis. Political Science. Eastern Michigan University.

Turner, R. (2014). The Economic Impact of Travel & Tourism 2014. London: World Travel & Tourism Council.

Thomson, A. M., Perry, J. L., & Miller, T. K. (2007). Conceptualizing and Measuring Collaboration . Journal of Public Administration. Research and Theory Advance Access, 2007(12), 1-34.