การนำแนวคิด Balanced Scorecard มาใช้วัดผลการดำเนินงานในองค์กร : ศึกษาเฉพาะกรณีวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการให้บริการของวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อผลการดำเนินงานของวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ 3) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรคและแนวทางการแก้ไขปัญหา สำหรับการปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานของวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้ขนาดกลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 1 ได้แก่นักเรียน จำนวน 322 คน และตัวอย่างกลุ่มที่ 2 ได้แก่บุคลากร จำนวน 127 คน โดยใช้สถิติพรรณนา เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการให้บริการทางการศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ พบว่าในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อตัวบุคลากรมากที่สุด และด้านที่นักเรียนมีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือด้านอาคารสถานที่และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจเกี่ยวกับความเพียงพอ ความสะอาดและถูกหลักอนามัยน้อยที่สุด
ผลการศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ มุมมองด้านกระบวนการภายในโดยรวมเห็นด้วยในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า เห็นด้วยในระดับมาก 1 ด้าน คือ ด้านผู้นำที่มีภาวะผู้นำ ส่วนด้านอื่นๆ นั้นบุคลากรเห็นด้วยอยู่ในระดับปานกลาง มุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต พบว่า ภาพรวมนั้นอยู่ในระดับปานกลางและเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าบุคลากรให้ความสำคัญต่อเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเพื่อนร่วมงานเพราะเชื่อว่ามีประโยชน์ต่อการพัฒนางานและสามารถในแก้ไขปัญหา มุมมองด้านการเงิน พบว่า อัตราส่วนทางการเงินของวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ในรอบ 3 ปี (ปี2552 – 2554) ผลการดำเนินงานของวิทยาลัยฯ มีอัตราผลตอบแทนจากส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นทุกปี สอดคล้องกับการมีอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมที่เพิ่มขึ้นทุกปีเช่นเดียวกัน
ผลการศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรคและแนวทางการแก้ไขปัญหา สำหรับการปรับปรุงการดำเนินงานของวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ พบว่า บุคลากร มีความคิดเห็นที่สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ในด้านการประสานงาน พบว่า ควรนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อจัดทำฐานข้อมูลซึ่งสอดคล้องกับด้านการลงทุนในเทคโนโลยีของวิทยาลัยฯ ที่ยังพบปัญหาตั้งแต่ระดับนโยบายและกระบวนการเบิกจ่าย
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
จิตรา สูงแข็ง. (2550). ความพึงพอใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการของโรงเรียนกวดวิชารัชดาวิทยาในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์ (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนดี.
บุญดี บุญญากิจ. (2547). การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: จิราวัฒน์ เอ็กซ์เพรส.
พสุ เดชะรินทร์. (2546). เส้นทางจากกลยุทธ์สู่การปฏิบัติด้วย Balanced Scorecard และ Key Performance Indicators. (พิมพ์ครั้งที่11). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พานแก้ว อิ่นสุทะ. (2553). การศึกษาคุณภาพการบริหารจัดการเชิงสมดุล (Balanced Scorecard) ของโรงเรียนบ้านใหม่โชคชัย อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, เชียงราย.
พิทักษ์ ศรชัย. (2552). การจัดการความรู้ของโรงเรียนภูซางวิทยาคม อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา. การศึกษาอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ภูวดล วัฒนา. (2552). การศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าผู้ใช้รถบรรทุกนิสสันดีเซล กรณีศึกษาในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล, สารนิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
เริงรัก จำปาเงิน. (2544). การจัดการการเงิน จาก Fundamentals of Financial Management. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร: บุ๊คเน็ท.
เลขา ดำเจริญ. (2551). การประเมินผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ด้วยเครื่องมือการบริหารจัดการในเชิงสมดุล. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.
อรอุมา ศึกษา. (2550). แนวทางในการนำ Balanced Scorecard มาใช้ในการบริหารงาน วิชาการของวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Kaplan and Norton. (1996). The Balanced Scorecard: Translating Strategy Into Action. Boston: Harvard Business School Press.
Kotler , Philip. 2000. Marketing Management.10th ed. Upper Saddle River, New Jersey : Prentice-Hall.
Riemann, Mare. W. (2004). “Enhancing the Balanced Scorcard with Scale- DEA” Dissertation Abstracts International.