ความสัมพันธ์ของปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกประเทศที่มีผลต่อ การส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปสาธารณรัฐประชาชนจีน

Main Article Content

ปิยพร ช่างสาร

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกประเทศที่มีผลต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีผลต่อการพยากรณ์การส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของประเทศไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้ข้อมูลประเภททุติยภูมิ (Secondary Data) ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบข้อมูลรายปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549-2558 และใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติในรูปของสมการถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Linear Regression) ในรูปกำลังสองน้อยที่สุดแบบธรรมดา (Ordinary Least Square: OLS) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าความสัมพันธ์ของปัจจัยภายในประเทศและปัจจัยภายนอกประเทศที่มีผลต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยปัจจัยที่มีผลมากที่สุด ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ใช้ซื้อขายเป็นกุลเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น จะมีผลทำให้ปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของประเทศไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนเพิ่มขึ้น ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการส่งออกรองลงมา คือปริมาณการผลิตมันสำปะหลังของประเทศไทย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีน และปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังจากประเทศเวียดนามไปสาธารณรัฐประชาชนจีน

Article Details

How to Cite
ช่างสาร ป. (2018). ความสัมพันธ์ของปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกประเทศที่มีผลต่อ การส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปสาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(2), 118–132. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmscrru/article/view/122143
บท
บทความวิจัย
Author Biography

ปิยพร ช่างสาร

นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) สาขาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (2559)

References

กระทรวงพาณิชย์. (2558). มันสำปะหลัง. สืบค้นจาก http://www.moc.go.th

จิตทิพย์ พึ่งอาศรัย. (2547). ผลจากการลดอัตราภาษีศุลกากรผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีต่อการนำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังจากประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์เกษตร). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นราทิพย์ ชุติวงศ์. (2550). ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์. (เอกสารวิชาการ). คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย : ศูนย์บริการ.

นิฐิตา เบญจมสุทินและ นงนุช พันธกิจไพบูลย์. (2548). เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิติยา สังขปรีชา. (2542). การวิเคราะห์ส่วนแบ่งตลาดส่งออกข้าวของไทยและข้าวสหรัฐอเมริกา. (วิทยานิพนธ์ปริญญา
วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์เกษตร). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บทที่ 7 การค้าระหว่างประเทศ. (2558). เอกสารอิเล็กทรอนิคส์. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: www2.nkc.kku.ac.th/.../บทที่%207%20การค้าระหว่างประเทศ.doc สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2558.

รัตนา ตันฑเทอดธรรม, ปฐมา จาตกานนท์ และยุพา ปานแก้ว. (2556). การวิเคราะห์ความต้องการของตลาดและการใช้ประโยชน์จากมันสำปะหลังในประเทศจีน. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2552). หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริประภา สุขสำโรง. (2557). ความสัมพันธ์ของปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกประเทศที่มีต่อการส่งออกยางพาราชนิดยางแผ่นรมควันชั้น 3 ไปประเทศจีน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี)

สมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย. (2559). ข้อมูลมันสำปะหลัง. สืบค้นจาก http://ttta-tapioca.org

สำนักงานการเงิน. โดยธนาคารแห่งประเทศไทย. (2559) สืบค้นจาก https://www.bot.or.th

อัครพงศ์ อั้นทอง (2550). เอกสารคู่มือการใช้โปรแกรม Eviews เบื้องต้น : สำหรับการวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติ. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อัทธ์ พิศาลวานิช. (2554). ทฤษฎีและนโยบายการค้าระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ : คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. (2553). เอกสารข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2553. (ออนไลน์).
แหล่งที่มา: http://www.oae.go.th/download/download_journal/fundamation-2553.PDF สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2558.

Tian Hui และ ชินาพัชร์ ราชบริรักษ์. (2557). “ความสามารถในการแข่งขันการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสาปะหลังไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน,” วารสารธุรกิจปริทัศน์. 6, 2 : 181-198.