การสื่อสารบอกเล่าวิถีชีวิตจากอดีตถึงปัจจุบันด้วยบทเพลงร้อง ของชนเผ่าอ่าข่า จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ประทัย พิริยะสุรวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การสื่อสารบอกเล่าวิถีชีวิตจากอดีตถึงปัจจุบันด้วยบทเพลงร้องของชนเผ่าอ่าข่า  จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทเพลงร้องที่แสดงถึงวิถีชีวิตในอดีตของชนเผ่าอ่าข่าในจังหวัดเชียงรายและเพื่อศึกษาบทเพลงร้องที่แสดงถึงวิถีชีวิตปัจจุบันของชนเผ่าอ่าข่าในจังหวัดเชียงราย การวิจัยครั้งนี้ใช้กลุ่มประชากร 4 หมู่บ้าน คือ บ้านอ่าข่าดอยช้าง บ้านอ่าข่าแสนใจ บ้านอ่าข่าป่าซาง และบ้านอ่าข่าแม่จันใต้ ใช้กลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกจากบุคคลในหมู่บ้านดังกล่าวที่มีความสามารถในบทเพลงร้องจากอดีตถึงปัจจุบันแบบเจาะจง โดยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) พร้อมกับการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า


1. เพลงร้องที่ใช้ในอดีตของชนเผ่าอ่าข่า มีความชัดเจนในด้านอายุของเพลงร้องดังกล่าวอยู่ในช่วงระยะเวลา 100 ปีที่ผ่านมา มีเนื้อหาของเพลงร้องมุ่งเน้นในด้านการดำรงชีวิต วัฒนธรรม การแต่งกายชาย-หญิง ความรัก เป็นหลัก เพลงมีเนื้อร้องและลีลาทำนองการร้องในแบบเฉพาะของชนเผ่าอ่าข่า โดยเพลงร้องเหล่านี้มักนิยมร้องและใช้ในการเต้นรำในลานวัฒนธรรมของชุมชน หรือ แด ข่อง (Deh qahq) ซึ่งชนเผ่า อ่าข่าจะใช้เป็นลานสืบทอดวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น       


2. เพลงร้องปัจจุบันของชนเผ่าอ่าข่า ช่วงแรกของเพลงจะอยู่ในช่วงของการพื้นฟูวัฒนธรรม เป็นการนำบทเพลงชนเผ่าและบทเพลงที่แต่งขึ้นใหม่มาใช้นำมวลชน เพื่อสร้างความรู้สึกรักเผ่าพันธุ์ตนเองและธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ส่วนเพลงร้องช่วงเวลาที่สองมีการรับเอาแนวเพลงและทำนองเพลงจากต่างประเทศมาดัดแปลง เนื้อหามีความเป็นสากลและเริ่มขาดเอกลักษณ์ของบทเพลงร้องในอดีตที่ผ่านมา


3. จากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เกี่ยวกับบทเพลงร้องของชนเผ่าอ่าข่า ได้ข้อสรุปคือ เพลงที่อยู่ในช่วงแรกของยุคปัจจุบันเป็นห้วงเวลาของการฟื้นฟูวัฒนธรรม เพราะการฟื้นฟูวัฒนธรรมด้วยเพลงมีความสำคัญยิ่งยวดในการสื่อสารด้วยบทเพลงภายในชนเผ่า และประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก ส่งผลให้เพลงร้องมีความแพร่หลายและเป็นต้นแบบของเพลงในห้วงระยะเวลาที่ 2 ในเวลาต่อมา


4. จากการจัดเวทีสนทนากลุ่ม (Focus Group) ได้ข้อสรุปในเวทีว่า บทเพลงร้องในอดีตควรถือระยะเวลาที่ชนเผ่าอ่าข่าอพยพเข้ามาสู่ประเทศไทยเป็นเกณฑ์ซึ่งจะอยู่ในช่วงเวลาประมาณ 110 ปี โดยมี   ผู้อาวุโสบางท่านกล่าวว่าเพลงร้องบางเพลงมีอายุถึง 2000 ปี นั้นยังไม่มีข้อยุติ

Article Details

How to Cite
พิริยะสุรวงศ์ ป. (2018). การสื่อสารบอกเล่าวิถีชีวิตจากอดีตถึงปัจจุบันด้วยบทเพลงร้อง ของชนเผ่าอ่าข่า จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 12(2), 144–159. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmscrru/article/view/119818
บท
บทความวิจัย
Author Biography

ประทัย พิริยะสุรวงศ์

การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (2541), ปัจจุบันเป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

References

ศูนย์แม่โขงศึกษา ภายใต้สถาบันเอเชียศึกษา. (2553). กรอบความร่วมมือของประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2557, จาก https://www.mekongchula.com/views/Mekong.

มูลนิธิกระจกเงา โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์. (2551). ชนเผ่าอ่าข่า. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2557 ,จาก https://www.openbase.in.th/node/1423.

สวัสดีดอทคอม. (2557). ชนเผ่าอ่าข่า-ประวัติความเป็นมา. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2557,จาก https://www.sawadee.co.th
/thailand/hilltribes/akha.html.

บ้านจอมยุทธ. (2557). ทฤษฏีการสื่อสาร. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2558,จากhttps://www.baanjomyut.com
/library/communication_theory/03_2.html.

พิทพงศ์ สะโง้. บทสัมภาษณ์ : เพลงร้องอ่าข่ากับการฟื้นฟูวัฒนธรรม. 3 สิงหาคม 2559.

พีรยุทธ โอรพันธ์. (2556). ทฤษฎีการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยเชิงคุณภาพกรณีศึกษางานวิจัยเรื่อง : การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายมลายูและชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย. เอกสารประกอบการบรรยายรายวิชาสัมมนาการสื่อสาร 1 . พิษณุโลก . มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ภัสรา ชนะชัย. (2550). แนวคิดและทฤษฎีการสื่อสาร. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2554, จากwww.multiply.multiplycontent.com.

สมาคมเพื่อการศึกษาและวัฒนธรรมชาวอาข่า จังหวัดเชียงราย. (2557) .ข้อมูลวัฒนธรรมชนเผ่า
อ่าข่า. เชียงราย : สมาคมฯ.

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม. (2554). ยุทธศาสตร์การพัฒนาสำนักศิลปวัฒนธรรม ระยะเวลา 2554 – 2558. เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

หกเผ่าชาวดอย. (2550). สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2557, จาก https://www.hilltribe.org.
อาทู่ ปอแฉ่. ผู้อำนวยการสมาคมเพื่อการศึกษาและวัฒนธรรมชาวอาข่า จังหวัดเชียงราย.
บทสัมภาษณ์ : บทเพลงร้องชนเผ่าอ่าข่า. 10 กรกฏาคม 2559.

อาพี สะโง้ . บทสัมภาษณ์ : เพลงร้องอ่าข่า. 3 สิงหาคม 2559.

Edward T.Hall. (1981). Beyond Culture. Anchor books. Doubleday.

Geert Hofstede & Gert Jan Hofstede. (2005). Cultures and Organizations : Software of the mind. Revised and Expanded 2nd edition, The McGraw-Hill Companies.

Stephan Dahl. (2005). Intercultural Research : The Current State of Knowledge. Retrieved December 15 , 2012. Website : https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id= 658202.

Thomas J.Knutson. (2005). Tales of Thailand : Lesson from the land of smile. Retrieved October 10, 2012. Website : www.fulbrightthai.org/data/TALES/THAILAND.doc.