การประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกบนา ในจังหวัดพะเยา เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจของกลุ่มเกษตรกร
ผู้เลี้ยงกบนา จังหวัดพะเยา โดยมีเกษตรกรผู้ที่มีส่วนได้เสียในการศึกษาครั้งนี้จำนวน 15 คน จากในพื้นที่วิจัยจำนวน 14 ชุมชน โดยมีนวัตกรที่เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 60 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยกำหนดเกณฑ์การคัดเลือก คือ เกษตรกรที่เลี้ยงกบที่มีการดำเนินการในอดีตจนถึงปัจจุบัน และมีความสมัครใจเข้าร่วมโครงการ กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเลี้ยงกบนา และแบบสอบถามเครื่องมือในการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการวิเคราะห์ข้อมูลผลตอบแทนการลงทุน ผลการศึกษา พบว่า
การสังเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจของผู้เลี้ยงกบในจังหวัดพะเยา โดยพิจารณาจากแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลอาศัยอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (Benefit cost analysis: BCA)
ผลการวิจัยพบว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจ มีเงินลงทุนในการวิจัย อยู่ที่ 3,656,000 บาทการวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net present value: NPV) เท่ากับ 12,028,911 บาท ได้ผลตอบแทนจาการดำเนินโครงการนี้ หรือ ผลการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal rate of return: IRR) หรืออัตราผลตอบแทนคิดลด คือ อัตราคิดลด (discount rate) เท่ากับ 23.32 % ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร หากพิจารณาอัตราส่วนผลรวมของมูลค่าปัจจุบันของผลได้ตลอดอายุโครงการต่อผลรวมของมูลค่าปัจจุบันของต้นทุนตลอดอายุโครงการ เท่ากับ 1.65 เท่านั้นแสดงว่าลงทุนในโครงการนี้ 1 บาท ได้ผลตอบแทนถึง 1.65 บาท ทำให้โครงการดังกล่าวหากดำเนินการต่อไปจะมีรายได้ มากกว่ารายจ่าย 1.65 เท่า ซึ่งการพัฒนาการเลี้ยงกบ ประกอบด้วย การพัฒนา
พ่อแม่พันธ์กบนา การเลี้ยง อาหารเสริมของอาหารกบ การตลาด และการแปรรูป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
Achavanantakul, S., & Yaemla-or, P. (2017). Handbook for Social Impact Assessment and Social Return on Investment. Bangkok: The Thailand Research Fund.
Chantabut, L., Kanchan, C., Imjai, P., Sawasdee, B., Pimratch, S., Woraserm, W., & Thowanna, C. (2021). Appropriate stocking density of common lowland frog (Rana rugulosa, Wiegmann, 1935) in cage culture in the Winter Season. Prawarun Agricultural Journal, 18(1), 75-79.
Kumsubha, B. (2019). New Generation of Local Innovator and the Diffusion of Innovation in their commu nity. Dhurakit Pundit Communication Arts Journal, 13(2), 258-299.
Office of the Permanent Secretary for Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2022). General Information of Phayao in April 2022. Retrieved from https://www.opsmoac.go.th/phayao-dwl-files-441291791833.
Pachanawan, A., Phalee, A., Khamtorn, J., Tiengtam, N., Atthasan, V., & Nonkhukhetkhong, S. (2023). Comparison of chill, garlic, and pepper feed supplementation for Tadpole frog (Hoplobatrachus rugulosus) Nursing. Journal of Fisheries Technology Research, 16(1), 56-64.
Panted, N., Rattanamanee, C., Jaichansukkit, T., Moonsrikaew, S., Suphadee, M., Pajareon, S., Pulmar, C., & Wongpom, B. (2022). Effect of Protein Source from Dried Black Soldier Fly (Hermetia illucens) on Egg Quality in Commercial Laying Hens Raised in Opened house. Agricultural science journal, 53(3), 256-270.
Reangsanthia, S., & Ruangdej, A. (2015). Utilization of cricket meal as alternative protein replacement for fish meal in frog diets. King Mongkut's Agricultural Journal, 33(2), 102-109.
Sirinthnathorn, N., & Thewtanom, T. (2023). Strategy and Development Alternative Marketing Communication for Processed Tilapia Products of Farmers’ Group in Nakhon Pathom Province. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 6(1), 71-90.
Tarapituxwong, S., Pol-art, P., & Sattayopat, P. (2020). Economic Impact Assessment of Research and Development of Assam Tea Producer in Pa Pae Sub-District, Mae Taeng District, Chiang Mai Province. Ganesha Journal, 16(2), 115–126.
Uydam, Y., & Intaravicha, N. (2022). The Carrying Capacity Study of Water Quality for the Nursing of Tadpoles (Hoplobatrachus rugulosus). Journal of Vocational Education in Agriculture, 6(2), 84–93.
Wongjinda, C. (2021). Evaluation of Outcome and Impact Pathways of the Project Series under the Local Community Product Development in Uttaradit Province. Burapha Journal of Business Management, Burapha University, 10(2), 19-39.