ปัจจัยในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรภายใต้ วิกฤตการณ์โควิด – 19 ในจังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดระยอง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรภายใต้วิกฤตการณ์โควิด 19 ในจังหวัดระยอง 3) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่งเสริม
การท่องเที่ยวเชิงเกษตรภายใต้วิกฤตการณ์โควิด 19 ในจังหวัดระยอง จำแนกตามสถานภาพทั่วไปได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ รายได้ต่อเดือนและอาชีพโดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจทำการเก็บข้อมูลจากประชากรในจังหวัดระยอง 222 คน โดยใช้ทั้งสถิติเชิงพรรณนา และสถิติอ้างอิง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ทั้งนี้มีคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability) ด้วยวิธีวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ได้ค่าเท่ากับ 0.965 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพ โสด มีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 15,000 บาท และมีอาชีพ นักเรียน / นักศึกษา ผลวิเคราะห์ปัจจัยในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรภายใต้วิกฤตการณ์โควิด 19 ในจังหวัดระยอง ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก
เมื่อวิเคราะห์รายด้าน พบว่า ด้านบุคลากร มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ ด้านมาตรการป้องกันโควิด – 19 ,ด้านสถานที่ และด้านข้อมูลข่าวสาร ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ในรายข้อ พบว่า มีทิวทัศน์ที่สวยงาม มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยปัจจัยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในวิกฤตการณ์โควิด – 19 ในภาพรวม เพศ, อายุ, สถานภาพ และรายได้ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในภาพรวมมีเฉพาะอาชีพ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ในรายข้อ ด้านอายุ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 5 รายการ ด้านสถานภาพ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 2 รายการ ด้านรายได้พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 5 รายการ และด้านอาชีพพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 7 รายการ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
BMA Training and Development Institute. (2014). Definition of motivation and persuasion. Retrieved from https://webportal.bangkok.go.th/
Chadaporn J. & Kanokkarn K. (2022) FACTORS AFFECTING ACTIVE AGING TOURIST’S DECISION TO JOIN AGROTOURISM ACTIVITY IN THAILAND. International Thai Tourism Journal, 18(1), 62-85.
Chaimoolwong, S., Fongmul, S., Rungkawat, N., & Sakkatat, P. (2020). Factors affecting Thai tourists' motivations and behaviors of the agro tourism: Case study of Mae Jam village, Mueang Pan district, Lampang province. Journal of Agricultural Research and Extension.
Ciotti, M., Ciccozzi, M., Terrinoni, A., Jiang, W. C., Wang, C. B., & Bernardini, S. (2020). The COVID-19 pandemic. Critical reviews in clinical laboratory sciences, 57(6), 365-388.
Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A first course in factor analysis. Psychology press.
Jiradapa Sanitchan. (2021). Factors Affecting the Tourists’ Decision of Ecotourism: A Case Study of Bang Nam Phueng Floating Market in Samutprakarn. The National Institute of Development Administration
Laotaweesook, C., & Seenprachawong, U. (2017). Income Generating from Agro-tourism:
A Case Study of Fruit-buffet Festival in Rayong, Chanthaburi and Trat Province. Development Economic Review, 11(2), 117-117.
Munpao, P. (2016). Agrotourism Decision Making Behavior: A Case Study of Mahasawas Canal in Nakornpatom Province. Journal of Thonburi University, 10(22), 104-110. New Jersey: Hoboken.
Nunnally, J. C. (1978). An overview of psychological measurement. Clinical diagnosis of mental disorders, 97-146.
Phuthong, T., Udomthanavong, S., & Boonchuai, P. (2022). Factors Influencing the Return of Tourists A Case Study of Agricultral Tourism in Nakhonpathom–Samutsongkhram Province Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 8(6), 25-38.
RAYONG PROVINCIAL EDUCATION OFFICE. (2019). Summary of Rayong Province. Retrieved from http://rayongpeo.go.th/
Rovinelli R. J., & Hambleton R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal for Educational Research,
, 49–60.
Silcharu, T. (2017). Research and statistical analysis with SPSS-AMOS. Bangkok: Business R&D.
Songkhla, T. N., & Somboonsuke, B. (2011). Interaction between Agro-tourism and Local Agricultural Resource Management: A Case Study of Changklang Agro-tourism, Nakhon Si Thammarat Province. Kasetsart Journal of Social Sciences, 32(3), 444-457.
Tanitnon, M. (2017). A study of motivations and satisfaction of Thai tourists visiting Baan Bang Khen Doctoral dissertation, Master’s Thesis, Bangkok University. Bangkok
Thailand Development Research Institute Foundation (2021) Analyze the impact of COVID-19 Continue the tourism business. Retrieved from https://tdri.or.th/2021/02/covid-112/
Tourism Authority of Thailand. (2017). Agrotourism. Retrieved from https://www.tat.or.th/.
Tourist statistics. (2020). Rayong Province tourist statistics. Retrieved from https://data.go.th/dataset/mots_rayong
Uthayan, C. (2020). Tourists Behavior. Retrieved from https://touristbehaviour. wordpress.com