การบริหารจัดการและการพัฒนากลุ่มผ้าทอยกดอก ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

Main Article Content

Monchanok Upata

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของกลุ่มผ้าทอยกดอก ตำบล   เวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เพื่อศึกษาปัญหาด้านการบริหารจัดการ ด้านการตลาด ด้านการผลิต ด้านการเงินของกลุ่ม และเพื่อศึกษารูปแบบ โครงสร้าง วิธีการ กิจกรรมที่เหมาะสมต่อการบริหารจัดการกลุ่มผ้าทอยกดอก ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ศึกษาจากประชากรที่เป็นสมาชิกกลุ่มผ้าทอยกดอกจำนวน 17 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์         การสอบถาม การสังเกต และการสนทนากลุ่มเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้


ผู้ก่อตั้งกลุ่มคือท่านพระครูไพศาล ธีรคุณ เจ้าอาวาสวัดต้นแก้ว โดยเป็นผู้ดูแลในทุกๆ ด้าน และสนับสนุนงบประมาณ   หลัก กลุ่มยึดถือตัวบุคคล และอำนาจบารมีของท่าน จุดประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มเพื่อต้องการอนุรักษ์ และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้ายกดอก สมาชิกกลุ่มอยู่กันแบบเครือญาติ การบริหารจัดการกลุ่มยังมีน้อยทำให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่น ไม่มีการวางแผนการดำเนินงานในทุกด้าน โครงสร้างกลุ่มไม่เป็นทางการ ไม่มีระบบคัดเลือกสมาชิกที่ชัดเจน ไม่มีการควบคุมปริมาณชิ้นงาน และเวลาในการทำงาน  การควบคุมคุณภาพผลงานด้วยประธานกลุ่มเพียงคนเดียว ด้านการตลาดประธานกลุ่มสามารถออกแบบลวดลายผ้าได้เพียงคนเดียว  ผลิตภัณฑ์มีเฉพาะผ้าทอเท่านั้น ไม่มีตราสินค้า ไม่มีป้ายแสดงราคาที่ชัดเจน และไม่มีวิธีการกำหนดราคาที่ชัดเจน ไม่มีการส่งเสริมการตลาด และการประชาสัมพันธ์ ด้านการผลิต โรงเรือน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตค่อนข้างเก่า สภาพทรุดโทรม สมาชิกมีทักษะในการทอผ้าที่แตกต่างกัน ด้านการเงิน และบัญชีไม่มีการบันทึกบัญชี และบันทึกยอดขาย แหล่งเงินทุนมาจากแหล่งเดียวเท่านั้น


                รูปแบบ โครงสร้าง กิจกรรม วิธีการที่เหมาะสมควรมีการจัดประชุมสมาชิกกลุ่ม ปรับเปลี่ยนโครงสร้างกลุ่มให้เป็นทางการมากขึ้น แบ่งงานกันทำตามความถนัดและความชำนาญของแต่ละบุคคล มีการอบรมหมุนเวียนสับเปลี่ยนกัน มีจำนวนสมาชิกที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพผลงานมากขึ้น ควรหาผู้สืบทอดในการเข้ามาสืบสาน และอนุรักษ์การทอผ้าให้คงอยู่ต่อไป หน่วยงานภาครัฐควรเข้ามามีส่วนร่วมในการรับฟังปัญหา และช่วยเหลือสนับสนุนในด้านงบประมาณ ควรมีการเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติในการออกแบบลวดลาย จัดการส่งเสริมการขายตามเทศกาลต่างๆ ควรสรุปรายรับ-รายจ่ายประจำเดือนเพื่อนำมาช่วยในการตัดสินใจ และวางแผนการดำเนินงานให้เร็วขึ้น

Article Details

How to Cite
Upata, M. (2018). การบริหารจัดการและการพัฒนากลุ่มผ้าทอยกดอก ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 13(1), 192–210. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmscrru/article/view/128091
บท
บทความวิจัย
Author Biography

Monchanok Upata

วศ.ม. (สาขาการจัดการอุตสาหกรรม) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2549), ปัจจุบัน อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

References

Wiangyong Subdistrict Administrative Organization. (2014). Performance Report of Wiangyong Subdistrict Administrative Organization for 2011-2014. Lamphun: Wiangyong Subdistrict Administrative Organization, Muang District, Lamphun Province. (in Thai)

Pha Yok Lamphun Weaving. (2011). Retrieved December 20, 2014, from www.phayok-lamphun.org. (in Thai)

Wongwirach, Kajohnsak. (2008). A Study of Occupational Management of Farmers Growing Pesticide Residue Free
Vegetables of Ban Cham, Village No. 6, Pong Yang Kok Subdistrict, Hang Chat District, Lampang. Final Report. The Thailand Research Fund. (in Thai)

Moonlasri, Jantira. (2004). Approach to Develop the Community Business of Rattan Handicraft Career Development of
Ban Na Kra Seng, Loei Province. Study Problem. Master’s Thesis, Department of Business Administration, Faculty of Business Administration, Mahasarakham University. (in Thai)

Kanchanachitra, Chiraphan. (2015). Community Development. Ramkhamhaeng University Press. (in Thai)

Promsri, Chaiyaset. (2014). Contemporary Leadership. Bangkok: Panyachon. (in Thai)

Aksaeng, Duangruethai. (2009). The Knowledge Management Process for Local Wisdom about Organically-Dyed
“Mudmee” Thai Silk. Master’s Thesis, Department of Business Administration, Faculty of Business Administration, Khon Kaen University. (in Thai)

Suntiwong, Thongchai. (2002). Organization and management. Bangkok: Thai Watana Panich Co.,Ltd. (in Thai)

Yavirach, Natepanna. (2013). Leadership and Strategic Leader. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Wingworn, Boontawan. (2013). Entrepreneurship in the Globalization Era. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Khwanchu, Panisara. (2009). Role of Group Leaders in the Conservation of Pha Tho Yok Dok of Ton Kaew Temple
Textile Group Wiang Young Sub-district, Mueang District, Lumphun Province. Master’s Thesis, Department of Public Administration, Faculty of Political Science, Chiang Mai University.

Wonganutaroj, Preeyaporn. (2010). Academic Management. Bangkok: Bangkok Media. (in Thai)

Upata, Monchanok. (2015). Local Wisdom Management of Cloth Weaving Group in Wiangyong Sub-District, Amphoe Mueang, Lamphun Province. Complete Research. Office of the Higher Education Commission.

Phommaung, Ludda. (2004). Role and Quality of Working Life of Members of the Pottery Group, Ban Mueang Kung,
Tambon Nong Khwai, Amphoe Hang Dong, Changwat Chiang Mai. Chiang Mai University.

Chompoopitak, Walaiporn and Dorsaeng, Benjamin. (2003). Production Group Management of Pesticide Residue Free
Vegetables, Tambon Mae Kon, Amphoe Mueang Chiang Rai. Bangkok: The Thailand Research Fund. (in Thai)

Wungdee, Siriwan. (2007). Community Enterprise Development Strategy for Self-sufficiency: Case Study of Rice
Production Community Enterprise of Tambon Pho Phraya, Suphan Buri. Complete Research. The Thailand Research Fund. (in Thai)

Bangmo, Somkid. (2013). Modern Organization Management. Bangkok: Faculty of Public Administration, National
Institute of Development Administration. (in Thai)

Chantavanich, Supang. (2008). Qualitative Research. 2nd Printing. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Suksriwong, Sakorn. (2008). Management: From the Executive's Viewpoint. 4th Printing. Bangkok: G.P. Cyberprint. (in Thai)

Suwanmongkol, Suthanya. (2001). Factors Related to Weaving Career, Lamphun Province. Master’s Thesis. Faculty of Education. Chiang Mai University. (in Thai)

Federation of Accounting Professions. (2009). Importance of Accounting and Financial Statements. Retrieved December 20, 2014., from https://www.fap.or.th/index. (in Thai)

Bartol, K., Matin, D. (1898). Management, Baston: McGraw-Hill.

Bateman, T.S.,& Snell, S.A. (2009). Management: Leading& Collaborating in the Competitive World. New York: McGraw-Hill.

Donnelly,Gibson and Ivancevich. (2007). Fundamentals of Management. New York: McGraw-Hill Higher Education.

______________. (2000).Organizations: Behavior, Structure, Processes. New York: McGraw-Hill Higher Education.

Philip Kotler.(2002). Marketing Management. United States: Book Trade Cloth.

Rule,L. &Byars. (2002). Management: Skill and Application. (10th). United States: McGraw-Hill