ภาพผู้หญิงสถานภาพโสดที่ปรากฏในภาพยนตร์ไทย*
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาว่า ภาพยนตร์ไทยในเรื่อง 30 + โสด ON SALE และ 30 กำลังแจ๋ว สร้างภาพของผู้หญิงของหญิงสถานภาพโสดอย่างไร โดยนำการวิเคราะห์แบบวัฒนธรรมศึกษา แนวคิดเรื่องประกอบสร้างภาพตัวแทน รวมถึงแนวคิดการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ มาใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ โดยได้เลือกภาพยนตร์แบบเฉาพะเจาะจง ภาพยนตร์ที่มีภาพเกี่ยวกับผู้หญิงที่มีสถานภาพโสดเป็นโครงเรื่องหลัก ผลการวิเคราะห์พบว่า ภาพยนตร์ไทยเรื่อง 30+ โสดON SALE และ 30 กำลังแจ๋ว ได้สร้างภาพผู้หญิงสถานภาพโสด ดังนี้ 1. อกหักจากแฟนที่คบกันมา 7 ปี 2. ผู้หญิงสถานภาพโสดประกอบอาชีพที่ดีในสังคมไทย 3. ผู้หญิงสถานภาพโสด แต่งกายดูดี ทันสมัย 4. ผู้หญิงสถานภาพโสด มีอายุ 32 ปี มีรูปร่างหน้าตาดี สวย สง่า 5. ผู้หญิงสถานภาพโสด อยากมีครอบครัวอยากแต่งงาน และ 6. ผู้หญิงที่มีสถานภาพโสดไม่ว่าจะมีความมั่นใจแค่ไหนก็ตามแต่สุดท้ายก็ยังต้องการผู้ชายเป็นที่พึ่ง (ไม่สามารถอยู่คนเดียวได้)
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2544). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. _______________.(2548). “ทฤษฎีวาด้วยเนื้อหา/สาร ละความหมาย.” ประมวลวิชา ปรัชญา นิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสารมวลชน. หน่วยที่ 12. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช _______________. (2541). สื่อสารมวลชน : ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์. กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎี เศรษฐศาสตร์ การเมืองกับสื่อสารศึกษา. นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมสุข หินวิมาน.(2548). “แนวคิดเรื่องภาพตัวแทน.” ใน ปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎี การสื่อสาร = Philosophy of communication arts and communication theory. หน้า 426-428. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิทยานิพนธ์
จรินทร์ เลิศจิระประเสริฐ.(2535). “อาชีพของสตรีในละครโทรทัศน์.” วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นิรินทร์ เภตราไชยอนันต์. (2550). “ภาพตัวแทนผีผู้หญิงในละครโทรทัศน์.” วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปภัสรา ศิวะพิรุฬห์เทพ. (2548). “การถอดรหัสมายาคติของ ‘การข่มขืน: ศึกษาเปรียบเทียบผู้รับสารที่มีประสบการณ์ตรงกับผู้รับสารที่มีประสบการณ์ผ่านสื่อ.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. รุจิเรข คชรัตน์. (2542). “ภาพและกระบวนการสร้างภาพชายรักร่วมเพศในละครโทรทัศน์ ไทยกับการรับรู้ ภาพแบบฉบับของผู้ชม . วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รักใจ จินตวิโรจน์. (2543). “การนำเสนอภาพชายรักร่วมเพศในภาพยนตร์ไทยและอเมริกัน.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.รัชดา แดงจำรูญ. (2538). “ภาพของโสเภณีในละครโทรทัศน์ ปี 2537.” วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิชชา สันทนาประสิทธิ์. (2543). “การนำเสนอภาพความเป็นชายในภาพยนตร์ไทยระหว่าง ปี พ.ศ. 2541-2542.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์. (2545). “การวิเคราะห์ภาพเสนอ ‘ความขาว’ ในโฆษณา.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. ศิริมิตร ประพันธ์ธุรกิจ. (2551). “ความสัมพันธ์ไทย-ลาว ในสื่อบันเทิงไทย : ศึกษากรณี การประกอบสร้างอัตลักษณ์ความเป็นลาวจากภาพยนตร์ เรื่อง ‘หมากเตะโลก ตะลึง’.” วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สุภา จิตติสารัตน์. (2545). “การสร้างความหมายทางสังคมและการรับรู้ “ความเป็นจริง” ในภาพยนตร์ อิงเรื่องจริง.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุณิสา จันทรบูรณ์. (2539). “การรับรู้ภาพของครอบครัวผ่านละครโทรทัศน์.” วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อภิรัตน์ รัทยานนท์. (2547). “กระบวนการสร้างความจริงทางสังคมของตัวละครนางร้ายในละครโทรทัศน์. ”วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. อัญมณี ภู่ภักดี. (2547). “การตีความของผู้รับสารชายไทยต่อภาพของวีรบรุุษแบบอเมริกัน จากภาพยนตร์ ฮอลลีวู้ด.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาษาอังกฤษ
Hall, S. Representation : Cultural Representations and Signifying Practices, London : Sage, 1997.