ผลกระทบของความรู้ของผู้บริโภคและการเป็นที่ยอมรับในสังคม ธุรกิจที่มีต่อความไว้วางใจของผู้บริโภคต่อผู้ประกอบการธุรกิจ ผักไฮโดรโปนิกส์ขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

จรัสพงษ์ สินศิริพงษ์
สมบัติ ธำรงสินถาวร

บทคัดย่อ

  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของความรู้ของผู้บริโภคและเป็นที่ยอมรับในสังคมธุรกิจที่ส่งผลต่อความไว้วางใจของผู้บริโภคต่อผู้ประกอบการผักไฮโดรโปรนิกส์ขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจโดยกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคผักไฮโดรโปรนิกส์จำนวน 402 ตัวอย่าง โดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย สถิติเชิงพรรณนาที่ใช้วิเคราะห์มีสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนทางเดียว และสถิติอนุมานที่ใช้วิเคราะห์ มีสถิติสหสัมพันธ์และการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบหลายตัวแปร สำหรับผลการวิจัยพบว่า ความรู้ของผู้บริโภคเกี่ยวกับกิจกรรมผู้ผลิต ความพึงพอใจโดยรวมของผู้บริโภคและการเป็นที่ยอมรับในสังคมธุรกิจ ส่งผลกระทบต่อความไว้วางใจในผู้ประกอบการธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับน้อยกว่า 0.05 ส่วนความรู้ของผู้บริโภคเกี่ยวกับสินค้าผักไฮโดรโปรนิกส์ ความรู้ของผู้ของผู้บริโภคเกี่ยวกับการบริหารการจัดการของกิจการการรับรู้ของผู้บริโภคต่อพฤติกรรมการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคของผู้ประกอบการไม่ส่งผลต่อตัวแปรความไว้วางใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า 0.05

Article Details

How to Cite
สินศิริพงษ์ จ., & ธำรงสินถาวร ส. (2018). ผลกระทบของความรู้ของผู้บริโภคและการเป็นที่ยอมรับในสังคม ธุรกิจที่มีต่อความไว้วางใจของผู้บริโภคต่อผู้ประกอบการธุรกิจ ผักไฮโดรโปนิกส์ขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 7(2), 19–34. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmscrru/article/view/127146
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

จรัสพงษ์ สินศิริพงษ์

 * การจัดการมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คณะการจัดการและ การท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา (2553) **บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2550) ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะการจัด การและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา

สมบัติ ธำรงสินถาวร

** บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2550) ปัจจุบันเป็ นอาจารย์ประจำคณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา

References

กรมวิชาการเกษตรและชมรมปลูกพืชไม่ใช้ดิน (2549). การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน, เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติ ราชพฤกษ์ 49, เชียงใหม่ ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2541). การวิเคราะห์การถดถอย.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ. (2549). เรื่องราวของ Hydroponics ที่คุณอาจยังไม่รู้ (ตอนที่ 1). วารสาร เคหการเกษตร, 30(10), 166-169. ธีรินมาศ บางชวด. (2544). การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิไล ท้วมกลัด. (2543). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อและพฤติกรรมการบริโภคผักปลอด สารพิษในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สุเชษฐ์ เวศยาภรณ์. (2548). ระบบธุรกิจการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินในประเทศไทย กรณีศึกษา ฟาร์ม ผลิตผักไฮโดรโปนิกส์ในกรุงเทพฯและปริมณฑล.งานนิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต,สาขาธุรกิจการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สุธี ตรีขจรศักดิ์. (2546). ความต้องการความรู้เกี่ยวกับผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สุพรรณี แย้มสี .(2545). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกบริโภคผักปลอดสารพิษของ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ศึกษากรณีเขตจตุจักร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. Garbarino, E., &Johnson, M. S. (1999). The different roles of satisfaction, trust, and commitment in customer relationships. Journal of Marketing, 63, 70-87. Morgan, R.M., &HuntS. D. (1994). The commitment –trust theory of relationship marketing. Journal of Marketing, 3(July), 20-38. Nunnally, J. C. (1959). Tests and Measurement. New York: McGraw-Hill. Shepherd, D. A., & Zacharakis, A. L. (2003). A new venture’s cognitive legitimacy: An assessment by customers. Journal of Small Business Management, 41(2), 148-167.