การรับรู้ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความจงรักภักดีของหอพักของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Main Article Content

ชำนาญ รอดภัย
ธรรมวิมล สุขเสริม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีและส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการหอพักเอกชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่เช่าและอาศัยในหอพักเอกชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 374 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย Independent t-test, One Way ANOVA ทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์(Correlation Coefficient) และสถิติการวิเคราะห์เชิงถดถอยพหุฐาน(Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 4 ศึกษาอยู่ในคณะบริหารศาสตร์ มีรายรับต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท เช่าและอาศัยในหอพักปัจจุบันเป็นเวลา 1 ปีและเคยมีประสบการณ์ในการอาศัยในหอพักที่ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ระดับการรับรู้ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ระดับความคิดเห็นของส่วนประสมทางการตลาดบริการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยส่วนบุคคล อาทิ เพศ ชั้นปีการศึกษา คณะวิชาที่สังกัดและรายรับต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีผลต่อความจงรักภักดีของหอพักไม่แตกต่างกัน ส่วนความสัมพันธ์ของการรับรู้ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรกับความจงรักภักดีของหอพักเป็นไปในทางบวกและทิศทางเดียวกัน เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ของส่วนประสมทางการตลาดบริการกับความจงรักภักดีของหอพัก ส่วนการพยากรณ์ตัวแปรนั้นพบว่า การรับรู้ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรมีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของหอพักมากที่สุด คือ การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและการประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรมตามลำดับ และส่วนประสมทางการตลาดบริการมีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของหอพักเพียง 1 ด้าน คือ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพเท่านั้น

Article Details

How to Cite
รอดภัย ช., & สุขเสริม ธ. (2018). การรับรู้ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความจงรักภักดีของหอพักของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(1), 140–159. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmscrru/article/view/126986
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ชำนาญ รอดภัย

*นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ธรรมวิมล สุขเสริม

** Doctor of Philosophy (Development Policy), Hiroshima University, Japan (2011) ปัจจุบันเป็นอาจารย์
ประจำคณะบริหารศาสตร์คณะบริหารศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

References

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2554). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่10. นนทบุรี: บริษัท ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ จำกัด. คูมาร์ วีแปลโดยณัฐยา สินตระการผล. (2553). บริหารลูกค้าอย่างไรให้มีกำไร. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: ส.เอเซียเพรส(1989)จำกัด. ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยSPSS. พิมพ์ครั้งที่9. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี. ณัฐพัชร์ ล้อประดิษฐ์พงษ์. (2549). คู่มือสำรวจความพึงพอใจลูกค้า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทประชุมทองพริ้นติ้งกรุ๊ป จำกัด. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2552). สถานการณ์และตัวชี้วัด เชิงโครงสร้างของ SMEs ปี 2552.รายงานต่อกระทรวงอุตสาหกรรรม. สุนทร อุทธา. (2554). รายงานสถิติจำนวนหอพักและแมนชั่นในจังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุบลราชธานี. สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม Corporate Social Responsibility Institute(CSRI). 2554.รู้จัก CSR. http://www.csri.or.th/new2012/index.php?option=com_ k2&view=item&id=155:csr-in-process&Itemid=572. ธันวาคม, 2554. สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ. (2551). “ความรับผิดชอบต่อสังคม”,http://www.diw. go.th/csr/ training.html. ธันวาคม, 2554. ศรีนวล มีสาตรพงษ์. (2555). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการกับการตัดสินใจของผู้เช่า ห้องเช่าในหมู่บ้านไทยธานี ซอย 17 เขตนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัด ปทุมธานี. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์. “การดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน”. โรงแรม อินเตอร์คอนติเนนตัล. เวลา10.04 น. วันที่20 ตุลาคม 2553. วิภาดา วีระสัมฤทธิ์. (2553). ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร(CSR)ที่มีผลต่อ ความจงรักภักดีของลูกค้า บริษัท แอดวานซ์อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด(มหาชน). การค้นคว้าอิส ระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. 159 Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat University Vol.8 No. 1 (January - June 2013) Borden, N.H. (1965). The concept of The Marketing Mix. In Schwartz, G. (Ed), Science in marketing. New York: John Wiley & Sons, 386-397. BjornStigson,. (2007). Enveronmental Finace. [On-line]. Available: http://www. financial express.com/news/businesses-cannot-succeed-in-societies-thatfail/282253/. Lovelock, C.H. (1983). “Classifying Services to Gain Strategic Marketing Insights”, Journal of Marketing. 7 (Summer): 9-20 McCarthy, E. J. (1964). Basic Marketing, IL: Richard D. Irwin. Mehran Nejati&Azlan Amran. (2010). Corporate social responsibility and SMEs: exploratory study on motivations from a Malaysian perspective. Neal, W.D. (1999). Satisfaction is nice, but value drives loyalty. Marketing Research, 21–23. Oliver, Richard L. (1999). “Whence consumer loyalty?”, ournal of Marketing,1999,Vol. 63(special edition),pp33-44. Philip Kotler and Nancy Lee. (2005). Corporate Social Responsibility. Canada. John Wiley & Sons. Philip Kotler. (2000).Marketing Management: Analysis, Planning, Implementationand Control.10thed. Englewood Cliffs,NJ: Prentice-Hall. Tengku Ezni Balqiah, Hapsari Setyowardhani, and Khairani. (2011). Khairani The Influence of Corporate Social Responsibility Activity Toward Customer Loyalty through mprovement of Quality of Life in Urban Area. Department of Management, Facultyof Economics, Universityof Indonesia, Kampus Baru UI Depok 16424. The Southeast Journal Management. April 2011. The Chartered Institute of Marketing. (2009). Marketingandthe7Ps, A brief summary of marketing and how it works. Berkshire: Maidenhead. The World Business Council for Sustainable Development. (1998). Corporate Social Responsibility. London: Earth scan Plublications.