ครอบครัวกับการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล (Digital Literacy) ของดิจิทัลเนทีฟ (Digital Natives)
Main Article Content
บทคัดย่อ
ครอบครัวเป็นสถาบันที่มีบทบาทสำคัญในการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวเป็นคนดีและอยู่ในสังคมอย่างมีคุณภาพ สังคมในปัจจุบันเป็นยุคสังคมข่าวสาร (Information Society) เทคโนโลยีทำให้คนในสังคมใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการบริโภคข่าวสารและหาข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วโดยไม่มีข้อจำกัด เรื่องเวลา และระยะทาง (Time and Space) การหลั่งไหลของข้อมูลข่าวสารทุกทิศทุกทางย่อมส่งผลกระทบต่อสังคมทั้งเชิงบวก และลบ โดยเฉพาะเด็กยุคใหม่หรือ “ดิจิทัลเนทีฟ” (Digital Natives) ที่เกิดและเติบโตมาพร้อมกับสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์ไอทีที่เป็นดิจิทัลมีเดีย ทั้งคอมพิวเตอร์ แทบเล็ต สมาร์ทโฟน ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย ทำให้เด็กสามารถค้นหาข้อมูลหรือสิ่งต่างๆที่สนใจได้ด้วยตัวเองโดยตรง เป็นผู้ใช้สื่อ เสพสื่อ และสร้างสื่อได้เอง ในลักษณะของผู้แสวงหาข่าวสาร (Active Audience) หน้าที่ที่สำคัญของครอบครัวในยุคสังคมข่าวสาร คือต้องทำหน้าที่ดูแล ให้คำแนะนำ และสร้างภูมิคุ้มกันให้ดิจิทัลเนทีฟรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล (Digital Literacy) คือ รู้ใช้ (Use) รู้เข้าใจ (Understand) และรู้สร้างสรรค์ (Create)
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2556). สื่อสารมวลชน ทฤษฏีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.
ขนิษฐา จิตแสง. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคลและกลุ่มบุคคลกับทักษะการรู้เท่าทันสื่ออินเทอร์เน็ตของเยาวชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. นิเทศศาสตร์ปริทัศน์.1 8(กรกฎาคม): 48-62.
เธียรทศ ประพฤติชอบ.(2557). “สื่อ และ สาร” อาวุธทรงพลังใกล้ตัวคุณ, วารสาร TPA News. 18,212:11-12.
บุบผา เมฆศรีทองคำ. 2554. การรู้เท่าทันสื่อ: การก้าวทันบนโลกข่าวสาร. วารสารนักบริหาร. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 31(เม.ย – มิ.ย) : 117 - 123
ปัญญาสมาพันธ์เพื่อการวิจัยความเห็นสาธารณะแห่งประเทศไทย. (2555). ถูกรังแกออนไลน์ ภัยไซเบอร์ของเด็กที่ครอบครัวต้องจับตา. ไทยรัฐออนไลน์. แหล่งที่มา: http://www.thairath.co.th/content/257112
สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2558.
พรรณพิมล วิปุลากร. (2555). (เท่าทัน) สื่อ กับการรับรู้ของเด็ก,รู้ทันสื่อ. กรุงเทพมหานคร: แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.). กรุงเทพมหานคร : ออฟเซ็ทพลัส.
พูนสุข เวชวิฐาน. (2557). ทฤษฎีครอบครัวเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.
มายด์แชร์. 2557. (27 มีนาคม ). พฤติกรรมชาวดิจิทัลเกาะติดช่องทางออนไลน์. กรุงเทพธุรกิจ. ค้นวันที่ 5 มีนาคม 2558 จาก http://www.apecthai.org/index.php/1640
วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์. (2555). ปกป้องลูกจากภัยร้ายทางอินเทอร์เน็ต. (ออนไลน์).
แหล่งที่มา: http://www.healthygamer.net/information/article/65150 สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2558.
ศรีดา ตันทะอธิพานิช. (2544). ท่องอินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัยและได้ประโยชน์ : ข้อคิดสำหรับผู้ปกครองและเยาวชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การมีการใช้เทคโนโลยีในครัวเรือน. (ออนไลน์).
แหล่งที่มา:service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/survey/ICT-HouseExc57.pdf สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2558.
อุลิชษา ครุฑะเสน. (2556). แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เท่าทันสื่อของแกนนำเยาวชน.
วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 6 (3) :276-285.
Baran ,S.J. (2004). Introduction to Mass Communication. 3 rd ed. Boston: McGraw Hill.
Buckingham, D. (2005). Media Literacy. Retrived April 19, 2015
from www.medienpaed.com/05-1/Buckingham
Digital Literacy and Digital Literacies. (2014). Retrieved April 10, 2015 from https://cbltmultimedia.files.wordpress.com/2014/01/digitalliteracycanada_2.jpg
Prensky, M. (2001). Digital Natives Digital Immigrants Part 1. Horizon. 9(5):1-6.
McLuhan, M. (1964). Understanding media : The extensions of man. New York: McGraw-Hill book.
Next Generational Emergence in Western Societies: Understanding Digital Natives , 2014
Retrived May 20, 2015 from http://businessfamilies.org/read/2014/07/29/next-generational-emergence-in-western-societies-understanding-digital-natives/
Tapscott, D.(1999). Growing Up Digital: The Rise of the Net Generation. New York: McGraw-Hill book.