ปัจจัยที่ส่งผลต่อมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากประเทศญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมยานยนต์, โลหะ และเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย

Main Article Content

สรินทิพย์ เกิดผล
จีรศักดิ์ พงษ์พิษณุพิจิตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากประเทศญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมยานยนต์, โลหะ และเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปีพ.ศ. 2548 ถึงไตรมาสที่ 4 ปีพ.ศ. 2557 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติ ด้วยวิธีวิเคราะห์สมการถดถอยกำลังสองน้อยที่สุด


ผลการวิจัยทั้ง 3 อุตสาหกรรมพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากประเทศญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่น และนโยบายรถยนต์คันแรกของรัฐบาลไทย 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากประเทศญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมโลหะของประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ มูลค่าการส่งออกโลหะของประเทศไทย และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่น และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากประเทศญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเฉลี่ยของประเทศไทย


จากผลการวิจัยที่พบว่าการใช้นโยบายรถยนต์คันแรกของรัฐบาลไทยในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยทำให้มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น ส่งผลดีต่อนักลงทุนในภาคอุตสาหกรรมนี้เป็นอย่างมาก รัฐบาลจึงควรใช้มาตรการกระตุ้นการลงทุนโดยตรงที่เฉพาะเจาะจงลงไปในภาคอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญ ในส่วนของอุตสาหกรรมโลหะของประเทศไทยนั้นรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการลงทุนควรมีมาตรการในการส่งเสริมและให้สิทธิพิเศษในด้านการส่งออกโดยเฉพาะไปยังประเทศญี่ปุ่นให้มากขึ้น เพื่อดึงดูดให้มีการลงทุนโดยตรงจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามามากขึ้นอันจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมโลหะของประเทศไทย สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเฉลี่ยของไทย เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานมีฝีมือมากรัฐบาลควรมีการส่งเสริมการฝึกทักษะฝีมือแรงงานให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการลงทุนควรมีมาตรการในการส่งเสริมและให้สิทธิพิเศษในด้านการส่งออกโดยเฉพาะไปยังประเทศญี่ปุ่นให้มากขึ้นเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมโลหะ

Article Details

How to Cite
เกิดผล ส., & พงษ์พิษณุพิจิตร์ จ. (2018). ปัจจัยที่ส่งผลต่อมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากประเทศญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมยานยนต์, โลหะ และเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(1), 81–110. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmscrru/article/view/122725
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สรินทิพย์ เกิดผล

นักศึกษาหลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2559)

จีรศักดิ์ พงษ์พิษณุพิจิตร์

Ph.D. International Economics Cormell University U.S.A. (1984), ปัจจุบันเป็น อาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2559)

References

แนวหน้า. 2559. สนับสนุนไทยเป็นฐานผลิตยานยนต์สมัยใหม่นายกชวนค่ายรถญี่ปุ่นลงทุนเพิ่ม (Online). http://www.ryt9.com,8 มีนาคม พ.ศ.2559.

พัชราภา ธรรมานุปถัมป์. 2546. ปัจจัยที่กำหนดการลงทุนโดยตรงจากประเทศญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รัตนา สายคณิต. 2549. เศรษฐศาสตร์การลงทุนระหว่างประเทศ.กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนาวรรณ เจี่ยงเพ็ชร์. 2541. ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการลงทุนโดยตรงจากประเทศญี่ปุ่นในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. 2548. เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิญญู ไหลประสิทธิ์พร. 2544. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมศักดิ์ โชติช่วง. 2557. ปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคที่มีอิทธิพลต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สถาบันการไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. 2555. รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Online). http://www.thaieei.com, 22 ธันวาคม 2558.

สถาบันยานยนต์. 2555. แผนแม่บทอุตสาหกรรมยานยนต์ปีพ.ศ.2555 - 2559 (Online). http://www.thaiauto.or.th, 25 ตุลาคม 2557.

อนุชล พงโพธิและสุดา ปีตะวรรณ. 2551. ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ใน อุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

อภิรัตน์ จิตต์. 2554. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Griffinand, R. W. and M. W. Pustay. 2007. International Business. Pearson Education Inc. 165-170.

Friedrich, S. and F. Bruno. 1985. Economic and political determinants of foreign direct investment (Online). http://econpapers.repec.org., 20 มกราคม 2557.