ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท พี พี (ประเทศไทย) จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ภาวิณี บุญสมศรี
พัฒน์ พัฒนรังสรรค์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท พี พี (ประเทศไทย) จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรีข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานระดับปฏิบัติการบริษัท พี พี (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 400 ตัวอย่าง  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์แบบจำลองโลจิต


ผลการวิเคราะห์แบบจำลองโลจิตพบว่า ปัจจัยที่สามารถอธิบายความพึงพอใจในงานของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัท พี พี (ประเทศไทย) จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.10  ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ย โรคประจำตัว พฤติกรรมและลักษณะการทำงาน ส่วนปัจจัยด้านองค์การ พบว่า ด้านรายได้ สวัสดิการ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความปลอดภัยในการทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน และความมั่นคงในงาน เป็นปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญและสามารถอธิบายความพึงพอใจในงานของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัท พี พี (ประเทศไทย) จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี 

Article Details

How to Cite
บุญสมศรี ภ., & พัฒนรังสรรค์ พ. (2018). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท พี พี (ประเทศไทย) จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(2), 49–70. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmscrru/article/view/122133
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ภาวิณี บุญสมศรี

*นักศึกษาหลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (ศ.ม.) สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2558)

พัฒน์ พัฒนรังสรรค์

**Ph.D.  สาขาเศรษฐศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (2554), ปัจจุบันเป็น อาจารย์ประจำภาควิชา เศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. 2555. การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กุลวดี เทศประทีป. 2544. ปัจจัยที่มีผลต่อการลาออกของพนักงานระดับปฏิบัติการในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ศึกษาเฉพาะกรณี โรงงานอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต , มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กองวิจัยตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. 2557. ประมาณการแรงงาน ภาคอุตสาหกรรม (Online). www.mol.go.th, 23 มกราคม 2558.

คลังข้อมูลอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์. 2558. แนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์โลก 2001-2019 (Online). www.nstda.or.th, 6 มกราคม 2558.

จงรักษ์ หงษ์งาม.2557. เศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ.พิมพ์ครั้งที่ 2 .กรุงเทพ: บริษัทแกรนด์พร้อยจำกัด.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. 2541. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7.กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. 2557. โครงสร้างระบบเศรษฐกิจไทย (Online). www.bot.or.th, 24 มกราคม 2558.
ยุทธนา ทิวัตถ์พร. 2553. ปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวโน้มการลาออกของพนักงาน กรณีศึกษา: พนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในเขต
นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัฒนา เจียรวิจิตร. 2543. ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานฝ่ายพัฒนาโปรแกรม คอมพิวเตอร์ บริษัท เมโทรซอฟท์ จำกัดและบริษัทในเครือ กรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรรณา คูณชัยพาณิชย์. 2540. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานใน โรงงานอุตสาหกรรมไฟฟ้า และเล็กทรอนิกค์ของบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นในจังหวัด ปทุมธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Douglas,M.MC Gregor.1969 .The Human Side of Enterprise.New York : MC Graw Hill Book Company.