ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรู้เท่าทันสื่อเรื่องเพศของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรู้เท่าทันสื่อเรื่องเพศของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อค่านิยมทางด้านเพศของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา 2. เพื่อศึกษาระดับการรู้เท่าทันสื่อทางด้านค่านิยมเรื่องเพศ และ 3. เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการรู้เท่าทันสื่อเรื่องเพศของนักศึกษา โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามกับกลุ่มนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย จำนวน 400 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage random Sampling) สถิติที่ใช้เป็นค่าร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression)
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นต่อค่านิยมทางเพศของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาอยู่ในระดับมาก (x̄= 3.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักศึกษาเห็นด้วยกับค่านิยมทางเพศที่ดีในสังคมไทยโดยชายไทยควรมีความรับผิดชอบต่อเพศหญิง ไม่หลอกลวง ไม่ข่มเหงน้ำใจมีค่าเฉลี่ยมากสุด (x̄= 4.28) รองลงมา คือ วัยรุ่นในปัจจุบันมักจะใช้อารมณ์ตัดสินใจมากกว่าเหตุผล (x̄= 4.09) และในปัจจุบันเกิดปัญหาหย่าร้างกันมากขึ้น เพราะมีรสนิยมแตกต่างกัน (x̄= 3.73) ซึ่งเป็นค่านิยมที่ไม่ถูกต้องในสังคมไทย 2) ระดับการรู้เท่าทันสื่อทางด้านค่านิยมเรื่องเพศ ภาพรวมมีระดับการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับสูง (x̄= 3.55) อยู่ในระดับที่ 3 คือสามารถการประเมินค่าสื่อได้ (Evaluate) และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรู้เท่าทันสื่อเรื่องเพศของนักศึกษา ได้แก่ ครอบครัว (บิดา มารดา) มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x̄= 4.34) และกลุ่มตัวอย่างคิดว่าสถาบันการศึกษาควรจะปลูกฝังบทบาทของตนเองและรู้บทบาทหน้าที่ที่แสดงต่อผู้อื่น (x̄= 4.12) นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยทางด้านครอบครัว การศึกษาและสื่อมวลชน ส่งผลต่อระดับการรู้เท่าสื่อของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
นงลักษณ์ เอมประดิษฐ์ และคณะ. (2540). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเพศศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นภาพร ธนะนุทรัพย์. (2551). อิทธิพลของสื่อละครทางโทรทัศน์ต่อพฤติกรรมด้านจริยธรรม:กรณีศึกษา นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปิยวร กุมภิรัตน์. (2546). ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมที่นำไปสู่พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นในจังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ยุพดี ฐิติกุลเจริญ. (2537). ทฤษฎีการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
วิลาสินี พิพิธกุล. การสื่อสารเรื่องเพศในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พรทิพย์ เย็นจะบก. (2548). คู่มือการเรียนรู้เท่าทันสื่อ. สำนักพิมพ์ปิ่นโต พับลิชชิ่ง. กรุงเทพฯ.
พรทิพย์ เย็นจะบก. “การรู้เท่าทันสื่อบนสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศไทย : กรณีศึกษาเฉพาะสื่อกระแสหลักและสื่อใหม่ ในช่วงเวลาหาเสียงเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554” บทความ. คณะมนุษย์ศาสตร์ ภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2556.
สุขุมาล จันทวี. (2550). การวิเคราะห์เพลงไทยสากลแนวใหม่ในช่วงปี พ.ศ.2524-พ.ศ.2534. วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพัตรา บุญญานุภาพพงศ์. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อค่านิยมทางเพศของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล. (2549). เปิดประตูสู่การรู้เท่าทันสื่อ : แนวคิดทฤษฎีและประสบการณ์การรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพ. นนทบุรี : โครงการสื่อสร้างสรรค์สุขภาพ.
Bate, J., &. Theory of media literacy : A cognitive approach. California : Sage Publication. 2007.
McCombs, Maxwell E. and Becker, Lee B. 1979. Using Mass Communication Theory. N.J : Prentice Hall, Inc. (1979).
Potter, W., J. Media Literracy. UK : Sage publications, 1998.
Silverblatt. Media Literacy: Keys to Interpreting Media Messages. 1995.